Saturday, September 29, 2007

รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์

แนวคิดหลัก
*พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
* มาตรา 6
* มาตรา 22
* มาตรา 23
* มาตรา 24
*หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544
กระบวนการพัฒนาครู
*การวิเคราะห์ครู
*การสร้างนวัตกรรมพัฒนาครู
*การนำนวัตกรรมไปใช้พัฒนาครู
*การประเมินร่วมกัน
กระบวนการนิเทศ
*การวางแผน
*ปฏิบัติตามแผน
*ตรวจสอบ
*ปรับปรุงแก้ไข
ครูมืออาชีพ
*ชำนาญการ
*ชำนาญการพิเศษ
*เชี่ยวชาญ
*เชี่ยวชาญพิเศษ
นักเรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนารอบด้าน (ดี เก่ง มีสุข)

Saturday, June 9, 2007

การแสดงผลงาน

ขั้นที่ 6 การแสดงผลงาน


การแสดงผลงานจัดเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการทำโครงงาน เรียกได้ว่าเป็นงานขั้นสุดท้ายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการแสดงผลิตผลของงาน ความคิดและความหมายทั้งหมดที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเทลงไป และเป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ
การแสดงผลงานอาจทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแสดงนิทรรศการ ซึ่งมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วย
คำพูด หรือในรูปแบบของการจัดแสดงโดยไม่มีการอธิบายประกอบ หรือรูปแบบของการรายงานปากเปล่า เป็นต้น

การแสดงนิทรรศการ

การแสดงนิทรรศการ ก่อให้เกิดการชื่นชมผลงานของตนเองและของผู้อื่น เกิดความภาคภูมิใจ เป็นแรงเสริม
ในการพัฒนางานชิ้นใหม่ต่อไป

การเตรียมเสนอผลงานเพื่อจัดแสดงนิทรรศการ

การเตรียมเสนอผลงานเพื่อจัดนิทรรศการ ควรดำเนินการดังนี้
1. จัดทำแผงสำหรับแสดงโครงงาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาจารย์ที่ปรึกษาและนักเรียนร่วมกันรับผิดชอบเพื่อประกอบ
การจัดแสดงนิทรรศการ โดยมีขนาดตามมาตรฐาน ดังนี้
แผ่น ก. 1 (แผ่นซ้าย) ก. 2 (แผ่นขวา) ขนาด 60 x 60 เซนติเมตร
แผ่น ­ข (แผ่นกลาง) ขนาด 60 x 120 เซนติเมตร ติดบานพับระหว่าง ก. 1 กับ ข กับ ก. 2 มีห่วงรับ
และขอสับทำมุมประมาณ 100 องศา กับแผ่นกลาง

2. จัดทำโปสเตอร์เพื่อติดบนแผงแสดงโครงงาน ควรเน้นจุดเด่น ๆ ข้อมูลต่าง ๆ ใช้วิธีสื่อความหมายข้อมูลในรูปของกราฟ รูปภาพ แผนภูมิ หรือตาราง ข้อความควรกระทัดรัด อ่านเข้าใจง่าย ชัดเจน ขนาดตัวอักษรสามารถอ่านได้ในระยะ 2 เมตร ภายในแผงโครงงาน ควรประกอบไปด้วยหัวข้อ ดังนี้
2.1 ชื่อโครงงาน
2.2 ผู้จัดทำโครงงาน
2.3 อาจารย์ที่ปรึกษา
2.4 สังกัด
2.5 บทคัดย่อ
2.6 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
2.7 จุดมุ่งหมาย
2.8 สมมติฐาน (ถ้ามี)
2.9 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
2.10 ขอบเขตของการศึกษา
2.11 คำนิยามศัพท์เฉพาะ
2.12 สถานที่ทำการศึกษา
2.13 ระยะเวลาในการศึกษา
2.14 วัสดุ อุปกรณ์
2.15 วิธีดำเนินการทดลอง
2.16 ผลการทดลอง
2.17 สรุปผลการทดลอง
2.18 ข้อเสนอแนะ
3. ควรมีอุปกรณ์และผลการทดลองที่เป็นของจริงหรือชิ้นงานสำหรับแสดงประกอบหน้าแผงโครงงานแต่ต้องระมัดระวังไม่ให้บังข้อความบนแผงโครงงาน
4. ตรวจสอบความถูกต้องทุกสิ่งทุกอย่างที่แสดง เช่น การสะกดคำ การเขียนอธิบายหลักการ ถ้าเป็นสิ่งประดิษฐ์ต้องอยู่ในสภาพที่ทำงานได้สมบูรณ์
5. มีความเหมาะสมและปลอดภัยกับเนื้อหาที่จัดแสดง เช่น ถ้าลมแรงควรยึด
แผงโครงงานให้มั่นคง มิเช่นนั้นอาจล้มลงทับอุปกรณ์ด้านหน้าเกิดความเสียหายได้
6. การอธิบายปากเปล่าหน้าแผงโครงงาน ผู้ที่ทำหน้าที่อธิบายควรได้รับการฝึกจากอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อให้เกิดความมั่นใจ และเพื่อพัฒนาเทคนิคการอธิบายปากเปล่าให้น่าสนใจ เช่น ลำดับและการแบ่งเนื้อหาในการอธิบายของคนในทีม การยกอุปกรณ์หรือผลการทดลองที่เป็นของจริงประกอบการอธิบาย ฯลฯ ซึ่งต้องอาศัยการร่วมมือที่สอดคล้อง ระหว่างผู้ร่วมงานเดียวกันให้ราบรื่น โดยไม่ติดขัดขณะทำการอธิบายปากเปล่า
7. การตอบข้อซักถาม นักเรียนควรได้รับการฝึกการตอบข้อซักถามทุกแง่ ทุกมุม จากอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องโครงงานที่ค้นคว้าและในการตอบผู้จัดทำโครงงานทั้งหมดต้อง
ช่วยกันเสริมคำตอบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยจังหวะและช่วงเวลาการพูดที่ไม่ใช่การแย่งกันตอบหรือเกี่ยงกันตอบ

Friday, June 8, 2007

ตัวอย่างแบบฟอร์มการเขียนรายงานของโครงงานวิทยาศาสตร์

1. ปกนอก
1.1 ชื่อเรื่อง……………………………………………………………………………..
1.2 ชื่อผู้ทำโครงงาน
1…………………………………………ชั้น…………………..
2…………………………………………ชั้น…………………..
3…………………………………………ชั้น…………………..
4…………………………………………ชั้น…………………..
1.3 ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
1…………………………………………
2…………………………………………
1.4 หน่วยงานที่สังกัด
……………………………………………………………………………………….
2. ปกใน
ปกในจะมีรูปแบบเหมือนปกนอกทุกประการ
3. บทคัดย่อ
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
4. กิตติกรรมประกาศ
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..

5. คำนำ
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
6. สารบัญ
6.1 สารบัญเรื่อง
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
คำนำ
บทที่ 1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
สมมติฐานของการศึกษา
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ขอบเขตของการศึกษา
คำนิยามศัพท์เฉพาะ
สถานที่ทำการศึกษา
ระยะเวลาในการศึกษา
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
วัสดุ อุปกรณ์
วิธีดำเนินการทดลอง
บทที่ 4 ผลการทดลอง
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา
อภิปรายผลการศึกษา
ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
6.2 สารบัญตาราง
สารบัญตาราง
ตาราง หน้า
1 แสดงหรือศึกษา………………………………………
2 แสดงหรือศึกษา………………………………………
6.3 สารบัญภาพประกอบ
สารบัญภาพประกอบ
ภาพประกอบ หน้า
1 แสดง…………………………………………………
2 แผนภูมิแท่งแสดง……………………………………
7. บทที่ 1 บทนำ
7.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.2 จุดมุ่งหมายของการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.3 สมมติฐานของการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.4 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
-ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ…………………………………………………….
-ตัวแปรตาม………………………………………………………………………
-ตัวแปรที่ต้องควบคุม…………………………………………………………….

7.5 ขอบเขตของการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.6 คำนิยามศัพท์เฉพาะ
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.7 สถานที่ทำการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.8 ระยะเวลาที่ทำการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
8. บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
9. บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีดำเนินการทดลอง
9.1 วัสดุ อุปกรณ์
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
9.2 วิธีดำเนินการทดลอง
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..

10. บทที่ 4 ผลการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
11. บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ
11.1 สรุปผลการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
11.2 อภิปรายผลการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
11.3 ข้อเสนอแนะ
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
12. บรรณานุกรม
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
13. ภาคผนวก
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..

Thursday, June 7, 2007

การเขียนรายงาน

ขั้นที่ 5 การเขียนรายงาน


เมื่อดำเนินการทำโครงงานจนครบขั้นตอน ได้ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งแปลผลและสรุปผลแล้ว
งานที่ต้องทำต่อไปคือ เขียนรายงาน การเขียนรายงานก็เพื่อให้คนอื่น ๆ ได้เข้าใจถึงแนวคิด วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้าข้อมูล ผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ
การเขียนรายงาน ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กระชับ ชัดเจน สั้น ๆ ตรงไปตรงมาและครอบคลุมประเด็นสำคัญของโครงงานที่ได้ทำไปแล้ว โดยมีส่วนประกอบเรียงลำดับดังนี้
1. ปกนอก
1.1 ชื่อเรื่อง การตั้งชื่อเรื่องที่ดีนั้นควรมีลักษณะดังนี้
- ตรงกับเรื่องที่ศึกษา เมื่ออ่านแล้วสามารถบอกได้ว่าเรื่องที่ทำนั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งใด
- สั้นกระทัดรัด ชื่อโครงงานไม่ควรยาวเกินไป ควรตั้งให้สั้นกะทัดรัดและรัดกุมแต่ต้องได้ใจความตรงกับเรื่อง
- ไม่ควรเป็นประโยคคำถาม
- ใช้คำเร้าความสนใจ แต่ต้องไม่ทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไปจากเนื้อเรื่องของโครงงาน
1.2 ชื่อผู้ทำโครงงาน
1.3 ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
1.4 หน่วยงานที่สังกัด
2. ปกใน
ปกในจะมีรูปแบบเหมือนปกนอกทุกประการ
3. บทคัดย่อ
เขียนอธิบายวิธีการดำเนินการศึกษา ผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปอย่างย่อ ๆ ด้วยความเรียงติดต่อกันไป โดยทั่วไปนิยมเขียนไม่เกินหน้ากระดาษ
4. กิตติกรรมประกาศ
เป็นการกล่าวถึงหน่วยงาน หรือบุคคลที่มีส่วนทำให้โครงงานนี้ประสบความสำเร็จไม่ว่า จะเป็นการให้คำปรึกษา
คำแนะนำ การช่วยเหลือหรือให้การสนับสนุนด้านต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ ทุนสำหรับดำเนินการ ฯลฯ
5. คำนำ
เป็นการกล่าวถึงแนวคิด ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่ดำเนินการศึกษาค้นคว้า จุดมุ่งหมาย สมมติฐาน
และขอบข่ายอย่างย่อ ๆ อาจเขียนเป็น 2 – 3 ย่อหน้าก็ได้
6. สารบัญ
เป็นส่วนที่ระบุว่า ภายในเล่มรายงานโครงงานประกอบด้วยอะไรบ้าง ใช้รูปแบบการเขียนปริญญานิพนธ์ทั่วไป
โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน ตามลักษณะการนำเสนอข้อมูลและเรียงลำดับ ดังนี้
6.1 สารบัญเรื่อง
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
คำนำ
บทที่ 1 บทนำ
-ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
-จุดมุ่งหมายของการศึกษา
-สมมติฐานของการศึกษา
-ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
-ขอบเขตของการศึกษา
-คำนิยามศัพท์เฉพาะ
-สถานที่ทำการศึกษา
-ระยะเวลาในการศึกษา
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
-วัสดุ อุปกรณ์
-วิธีดำเนินการทดลอง
บทที่ 4 ผลการทดลอง
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
-สรุปผลการศึกษา
-อภิปรายผลการศึกษา
-ข้อเสนอแนะ
-บรรณานุกรม
-ภาคผนวก
6.2 สารบัญตาราง
การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง เป็นการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลที่ได้ทำการศึกษารูปแบบหนึ่ง
ส่วนใหญ่ใช้ในการบันทึกผลการศึกษา ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการค้นหาควรจัดทำสารบัญตาราง บอกลำดับที่
ชื่อ และหน้า ดังนี้
-สารบัญตาราง
-ตาราง หน้า
1 แสดงหรือศึกษา………………………………………
2 แสดงหรือศึกษา………………………………………
6.1 สารบัญภาพประกอบ
การถ่ายภาพประกอบ การเขียนแผนภูมิรูปแบบต่าง ๆ เป็นการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลที่ทำการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้กันแพร่หลาย การเลือกใช้รูปแบบการสื่อความหมายข้อมูลแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนั้น การจัดทำสารบัญภาพจึงเพิ่มความสะดวกในการค้นหาเช่นกัน โดยนับลำดับที่ของภาพประกอบ แยกออกจากลำดับที่ของตาราง ดังนี้
-สารบัญภาพประกอบ
-ภาพประกอบ หน้า
1 แสดง…………………………………………………
2 แผนภูมิแท่งแสดง……………………………………
7. บทที่ 1 บทนำ
7.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
อธิบายความสำคัญของโครงงาน เหตุผลที่เลือกทำโครงงานนี้ หลักการหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
เรื่องที่ทำ เป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นเคยศึกษาไว้บ้างแล้ว ถ้ามีได้ผลเป็นอย่างไร เรื่องที่ทำนี้ได้ขยายเพิ่มเติมหรือ
ปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นได้ทำไว้อย่างไรบ้าง
7.2 จุดมุ่งหมายของการศึกษา
ในบางครั้งอาจใช้คำว่า “วัตถุประสงค์ของการศึกษา” หรือถ้าเป็นโครงงานทดลองอาจใช้คำว่า “จุดมุ่งหมายของการทดลอง” ในการเขียนจะกล่าวถึงสิ่งที่ต้องการศึกษาหาคำตอบซึ่งมักนิยมเขียนในลักษณะความสัมพันธ์ระหว่าง
ตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
7.3 สมมติฐานของการศึกษา
สมมติฐานเป็นคำตอบหรืออธิบายที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าโดยยังไม่มีการทดสอบซึ่ง อาจจะถูกหรือไม่ถูกก็ได้ การเขียนสมมติฐานควรมีเหตุและมีผล มีทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์รองรับและที่สำคัญคือเป็นข้อความที่มองเห็น
แนวทางในการดำเนินการทดลองหรือสามารถทดสอบได้ ส่วนใหญ่การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์มีสมมติฐานของการศึกษา ยกเว้นโครงงานประเภทสำรวจ
7.4 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ได้แบ่งตัวแปรออกเป็น 3 ประเภท คือ
- ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ คือ สิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลต่าง ๆ หรือ สิ่งที่เราต้องการศึกษาทดลองดูว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผลเช่นนั้นจริงหรือไม่
- ตัวแปรตาม คือ สิ่งที่เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรต้น เมื่อตัวแปรต้นหรือ สิ่งเป็นสาเหตุเปลี่ยนไป ตัวแปรตามหรือสิ่งที่เป็นผลก็จะเปลี่ยนไปด้วย
- ตัวแปรที่ต้องควบคุม คือ สิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่จะมีผลต่อ การศึกษา ซึ่งจะต้องควบคุมให้เหมือนกัน มิเช่นนั้นแล้วอาจทำให้ผลการศึกษาคลาดเคลื่อน
7.5 ขอบเขตของการศึกษา
เป็นการบอกว่าจะศึกษาเรื่องใด ภายใต้เงื่อนไขอย่างไร เป็นระยะเวลานานเท่าใด
7.6 คำนิยามศัพท์เฉพาะ
เป็นการกำหนดความหมายและขอบเขตของคำต่าง ๆ ในสมมติฐานที่ต้องการศึกษา เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจตรงกัน ต้องสามารถตรวจสอบ สังเกตหรือวัดได้
7.7 สถานที่ทำการศึกษา
ถ้าเป็นโครงงานประเภททดลอง ให้เขียนบอกสถานที่ที่ดำเนินการทดลอง เช่น ห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวัดโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ถ้าเป็นโครงงานประเภทสำรวจ เช่น
บริเวณโรงเรียนวัดโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
7.8 ระยะเวลาที่ทำการศึกษา
ระบุวัน เดือน ปี ที่ทำการศึกษาตั้งแต่วันเริ่มต้น จนถึง วันสุดท้ายที่การศึกษาค้นคว้าสิ้นสุดลง
8. บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เป็นการศึกษาเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องอาจเป็นหลักการ ทฤษฎี หรืออ้างอิงตามหลักของสถาบันใดก็ได้ แต่ต้องใช้เป็นรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเอกสาร เช่น วิธีการศึกษาค้นคว้าที่สอดคล้องกับหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์ และต้องมีการเขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อหาที่กล่าวถึงเพื่อแสดงให้เห็นถึงแหล่งที่ค้นคว้ามา โดยจะใช้การอ้างอิงตามหลักของสถาบันใดก็ได้ แต่ต้องใช้เป็นรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเอกสาร เช่น
(ชื่อผู้แต่งและชื่อสกุล. ปีที่พิมพ์ : หน้าที่ใช้อ้างอิง)
สุบิน ณ อัมพร (2545 : 10 - 12) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ……………..
9. บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีดำเนินการทดลอง
9.1 วัสดุ อุปกรณ์
ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้มักจะประกอบไปด้วย เครื่องมือ เครื่องใช้ สารเคมี และสิ่งมีชีวิตที่ใช้ศึกษา วัสดุอุปกรณ์ประเภทเดียวกันควรเขียนเรียงลำดับตามกันไปจนครบ แล้วเขียนวัสดุอุปกรณ์ประเภทอื่นเรียงต่อกันไป
9.2 วิธีดำเนินการทดลอง/วิธีดำเนินการศึกษา
เป็นการเขียนอธิบายลำดับขั้นตอนของการศึกษาอย่างละเอียด
10. บทที่ 4 ผลการศึกษา
เป็นการนำเสนอข้อมูลที่สังเกต หรือจดบันทึกรวบรวมไว้จากการศึกษาค้นคว้า รวมทั้งเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่ได้มี 2 รูปแบบ คือ
- ข้อมูลเชิงปริมาณ อาจจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลในรูปของตารางหรือแผนภูมิก็ได้ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้โดยง่าย
- ข้อมูลเชิงคุณภาพ อาจเขียนในลักษณะข้อความบรรยายสั้น ๆ หรือมี ภาพประกอบข้อมูลด้วยก็ได้ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้โดยง่าย
11. บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ
11.1 สรุปผลการศึกษา
การสรุปผลการศึกษาควรยึดจุดมุ่งหมายของการศึกษาของเรื่องเป็นหลัก แล้วเขียนสรุปผลตามจุดมุ่งหมาย
ที่วางไว้
11.2 อภิปรายผลการศึกษา
การอภิปรายผล เป็นการอ้างอิงหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นศึกษาไว้แล้วว่า สัมพันธ์ สอดคล้อง
หรือขัดแย้งกับผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้อย่างไร
11.3 ข้อเสนอแนะ
เป็นการเสนอแนะสิ่งที่น่าจะศึกษาเพิ่มเติมต่อไป อย่างไร และการปรับปรุงแก้ไขซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ
ผู้ที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องลักษณะเดียวกันต่อไปในอนาคต
12. บรรณานุกรม
ก่อนถึงบรรณานุกรมควรมีหน้าบอกให้วางคำ “บรรณานุกรม” ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษและนับหน้านี้รวมกับหน้าอื่นด้วย โดยไม่ต้องใส่หมายเลขหน้ากำกับ บรรณานุกรมเป็นการเขียนชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือที่นำมาใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้า เรียงลำดับการเขียนตามลำดับ ตัวอักษรตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานโดยไม่ต้องใส่เลขลำดับรายการโดยมีวิธีการเขียนดังนี้
12.1 การเขียนบรรณานุกรมของหนังสือที่มีชื่อผู้แต่ง เช่น
ตัวอย่าง ผู้แต่ง 1 คน
(ชื่อ ชื่อสกุล. ชื่อหนังสือ. (ตัวหนา) ครั้งที่พิมพ์. (ถ้าพิมพ์ครั้งแรกไม่ต้องใส่ ครั้งที่พิมพ์) สำนักพิมพ์. ปีที่พิมพ์.

ธีระชัย ปูรณโชติ. คู่มือครู การสอนกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.
ตัวอย่าง ผู้แต่ง 2 คน
ให้ใช้คำว่า “และ” คั่นระหว่างชื่อผู้แต่งทั้ง 2 คน

วรรณทิพา รอดแรงค้า และพิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. การพัฒนาการคิดของครู
ด้วยกิจกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์ กรุ๊ปแมเนจเม้นท้, 2547.
ตัวอย่าง ผู้แต่ง 3 คน
ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างชื่อคนแรกและชื่อคนที่สอง ใช้คำว่า “และ” คั่นระหว่างชื่อผู้แต่งคนที่สองและคนที่สาม เช่น

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข และราเชน มีศรี. การพัฒนาการคิดของครูด้วยโครงงาน.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
ตัวอย่าง ผู้แต่งมากกว่า 3 คน
ให้เขียนชื่อผู้แต่งคนแรกและใช้คำว่า “และคณะ” ต่อจากชื่อคนแรก เช่น

สมบัติ การจนารักพงค์ และคณะ. เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 E.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
12.2 การเขียนบรรณานุกรมของหนังสือที่จัดทำขึ้นในนามของหน่วยงานต่างๆ
ให้ลงชื่อหน่วยงานนั้น ๆ ในตำแหน่งผู้แต่ง โดยลงหน่วยงานใหญ่แล้วตามด้วย หน่วยงานย่อย เช่น

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. คู่มือการทำและการจัดแสดง
โครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2531.

13. ภาคผนวก
ก่อนถึงภาคผนวก ควรมีหน้าบอก ให้วางคำ “ภาคผนวก” ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษและนับหน้านี้รวมกับหน้าอื่นด้วย โดยไม่ต้องใส่หมายเลขหน้ากำกับ ในส่วนของภาคผนวกนี้เป็นการนำส่วนที่บันทึกหรือข้อมูลที่ได้จากการศึกษาที่ต้องการแสดงเพิ่มเติม เช่น สูตรการคำนวณ สูตรอาหาร วิธีเตรียมสารเคมีที่ทำการศึกษา ข้อมูลดิบที่บันทึกไว้ซึ่งยังไม่ได้สรุป หรือยังไม่ได้จัดกระทำให้อยู่ในรูปกราฟ แผนภูมิ และตารางสรุป
เป็นต้น ฯลฯ

การลงมือทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ขั้นที่ 4 การลงมือทำโครงงาน

การลงมือทำโครงงานเป็นการลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในเค้าโครงย่อ ซึ่งควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
1. ตกลงแบ่งบทบาทและหน้าที่ของผู้ร่วมทำโครงงานของแต่ละบุคคล รวมทั้งการร่วมมือกันขณะดำเนินการศึกษา
2. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมก่อนลงมือทดลอง
3. มีสมุดสำหรับบันทึกกิจกรรมประจำวันว่าได้ทำอะไรลงไป ได้ผลอย่างไรมีปัญหาและข้อคิดเห็นอย่างไร
4. ปฏิบัติการทดลองด้วยความละเอียดรอบคอบ บันทึกข้อมูลไว้ให้เป็นระเบียบและครบถ้วน
5. คำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัยในการทำงาน
6. พยายามทำตามแผนงานที่วางไว้ในตอนแรก แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้บ้าง
หลังจากที่ได้เริ่มต้นทำงานไปแล้ว ถ้าคิดว่าจะทำให้ผลงานดีขึ้น
7. ควรปฏิบัติการทดลองซ้ำ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้มากขึ้น
8. ควรแบ่งงานเป็นส่วนย่อยและทำแต่ละส่วนให้สำเร็จก่อนทำส่วนอื่นต่อไป
9. ควรทำงานหลักที่เป็นสำคัญ ๆ ให้เสร็จก่อนแล้วจึงทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมที่ตกแต่งโครงงาน
10. อย่าทำงานต่อเนื่องจนเมื่อยล้า จะทำให้ขาดความระมัดระวัง
11. อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานควรให้คำปรึกษา แนะนำอย่างใกล้ชิดเมื่อมีอุปสรรคและปัญหาหรือเกิดข้อสงสัย
12. ถ้าเป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ควรคำนึงถึงความคงทน แข็งแรง และขนาดที่เหมาะสมของสิ่งประดิษฐ์นั้น

Wednesday, June 6, 2007

การเขียนเค้าโครงย่อของโครงงานวิทยาศาสตร์

ขั้นที่ 3 การเขียนเค้าโครงย่อของโครงงาน

การเขียนเค้าโครงย่อของโครงงานโดยทั่ว ๆ ไป จะเขียนขึ้นเพื่อแสดงแนวความคิด แผนงาน และขั้นตอนของการทำโครงงานนั้น ซึ่งควรประกอบด้วยองค์ประกอบและรูปแบบดังต่อไปนี้
1. ชื่อโครงงาน……………………………………………………………………………………….
(ควรให้กะทัดรัด ชี้ชัดในเรื่องที่จะทำ ว่าทำอะไร กับใคร อย่างไร)
2. ชื่อผู้ทำโครงงาน (โดยทั่วไปจะให้ทำเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2 – 3 คน)
1…………………………………………ชั้น………………………………..
2…………………………………………ชั้น………………………………..
3…………………………………………ชั้น………………………………..
โรงเรียน…………………………อำเภอ……………………จังหวัด………………...
3. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
1……………………………………………………………………………..
2……………………………………………………………………………..
(ครู/อาจารย์/ผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่น/ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาควบคุมการทำโครงงาน)
4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
(แนวคิด และที่มาของการทำโครงงานเรื่องนี้)
5. จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
1……………………………………………………………………………..
2……………………………………………………………………………..
(สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทำโครงงาน)


6. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
1……………………………………………………………………………..
2……………………………………………………………………………..
(ถ้ามี กรณีเป็นโครงงานประเภททดลอง)
7. ตัวแปรที่ต้องศึกษา
1. ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ……………………………………………...
2. ตัวแปรตาม………………………………………………………………
3. ตัวแปรที่ต้องควบคุม…………………………………………………….
(ถ้ามี กรณีเป็นโครงงานประเภททดลอง)
8. วิธีการดำเนินงาน
1. อุปกรณ์และสารเคมี
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
2. วิธีการทดลอง/ขั้นตอนการทำงาน
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
9. แผนปฏิบัติงาน
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
(ระยะเวลาในการดำเนินงาน)
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1……………………………………………………………………………..
2……………………………………………………………………………..
(ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น)
11. เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
(เอกสาร ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน)

Tuesday, June 5, 2007

การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ขั้นที่ 2 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องก็เพื่อจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องที่จะทำการศึกษาซึ่งจะช่วยให้โครงงานประสบผลสำเร็จได้มากขึ้น ในขั้นตอนนี้จะรวมไปถึงการขอคำปรึกษา การสอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้อง และยังรวมไปถึงการสำรวจวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำโครงงานด้วย
การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องนี้มีความจำเป็นที่ผู้จัดทำโครงงานต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ห้อง การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจจะต้องขอคำแนะนำเทคนิคและวิธีการต่างๆ ในการค้นคว้าเอกสารจากห้องสมุดจากบรรณารักษ์ห้องสมุดหรือผู้รู้ ตลอดจนการค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
การเขียนเอกสารที่เกี่ยวข้องนี้เป็นการอ้างอิงเนื้อหาต่าง ๆ ที่เราเอามาเขียนในโครงงานที่จำทำเป็นการบอกแหล่งที่มาของข้อมูล ที่เรานำมาเขียนไว้ในโครงงานว่าเรานำข้อความจากหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ใด ตลอดจนจากอินเตอร์เน็ต Web Site ใด โดยจะเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จัดทำโครงงาน เนื้อหาของเอกสารจะเป็นเรื่องที่ตรงกับตัวแปรต้น และตัวแปรตามในเรื่องที่นักเรียนทำ ซึ่งอาจได้มาจากการศึกษาค้นคว้าจากตำรา เอกสาร หนังสือต่าง ๆ จากผู้รู้ ฯลฯ โดยบอกว่าเรื่องที่ทำนี้เป็นเรื่องใหม่ หรือมีผู้อื่นได้ศึกษาไว้บ้างแล้วถ้ามีได้ผลเป็นอย่างไรโดยให้นักเรียนเขียนเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ แต่ถ้าหากเนื้อหาส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวกับการทำโครงงานก็ไม่ต้องนำมาเขียน
เมื่อนำข้อความหรือเนื้อหาในเอกสารใด ๆ มาเขียนให้นักเรียนจัดทำบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิงไว้ด้วย (ศึกษาเอกสารวิธีเขียนเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม ใน หน้า 34 - 37)
เพื่อจะได้นำไปเขียนในส่วนของเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม ในส่วนท้ายของรายงานต่อไป
ตัวอย่าง โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง “สเปรย์...ใบเตย”
การจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้เป็นโครงงานประเภททดลอง
เรื่อง “สเปรย์...ใบเตย” ซึ่งทางคณะผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสาร หนังสือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ต่าง ๆ ดังนี้
ใบเตย (เตยหอม) ลักษณะทั่วไปเป็นพืชที่ขึ้นรวมเป็นกอ ลำต้นกลมต่อ
เป็นข้อ ๆ โคนมีรากงอกเพื่อยึดลำต้น เรียงเป็นวงรอบลำต้น ใบมีสีเขียว เรียวยาว
ปลายใบแหลม ชอบขึ้นในที่มีน้ำชื้นแฉะ ลำต้นมีความสูงประมาณ 2-3 ฟุต
ใบเตย ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา คือ ใบ ใบเตยประกอบไปด้วย น้ำมันหอมระเหย
ประกอบไปด้วยสารหลายชนิด เช่น ไลนา ลิลอะซีเตท (Linalyl acetate) , เบนซิล อะซิเตท
(Benzyl acetate) ,ไลนาโลออท (Linalooi) และเจอรานิออล (Geranilol)
รากของใบเตย ใช้ทำเป็นยาเพื่อขับปัสสาวะและรักษาโรคเบาหวาน
แอลกอฮอล์ (Alcohol) เป็นสารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นของเหลวใส
มีกลิ่นฉุน ระเหยง่าย มีจุดเดือด 78.5 องศาเซลเซียส มีชื่อเต็ม คือ เอทิลแอลกอฮอล์
(Athylacohol) แต่มักเรียกสั้น ๆ ว่า “แอลกอฮอล์”
การผลิตแอลกอฮอล์มีการผลิตมาเป็นเวลาช้านาน ตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษ และ
ผลผลิตของแอลกอฮอล์ก็นำมาใช้เป็นเครื่องดื่ม และในการปรุงอาหาร โดยปกติแอลกอฮอล์
จะเกิดขึ้นจากการหมักผลไม้ ได้แก่ การผลิตไวน์ การหมักสารประเภทแป้งหรือน้ำตาลผสม
ยีสต์ ซึ่งมักเรียกกันว่า แป้งเชื้อ หรือ เชื้อหมัก เป็นองค์ประกอบสำคัญของสุราทุกชนิด
ทั้งนี้ แล้วแต่วัตถุประสงค์ของผู้ผลิตที่จะนำไปใช้ ถือเป็นการนำเอาผลไม้หรือส่วนต่าง ๆ
ของพืชเป็นหลัก อีกทั้งผ่านกระบวนการหมักเพื่อให้ได้แอลกอฮอล์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน
แอลกอฮอล์ที่ผลิตจากพืช เป็นแอลกอฮอล์ที่ใช้ดื่มได้ ส่วนแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากวัตถุดิบ
อื่น ๆ เป็นแอลกอฮอล์ที่ดื่มไม่ได้ นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์โดย
นำมาเป็นตัวทำละลาย ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค และใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เป็นต้น

การคิดหรือเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน

ขั้นที่ 1 การคิดหรือเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน

การคิดหรือเลือกหัวข้อเรื่องของโครงงาน เป็นขั้นที่สำคัญที่สุดของการทำโครงงาน
ควรเป็นไปตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และความต้องการของตนเอง โดยทั่วไปหัวข้อเรื่องของโครงงานมักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่ประสบในชีวิตประจำวัน
การเลือกหัวข้อเรื่องในการทำโครงงาน มาจากแหล่งต่าง ๆ พอสรุปได้ดังนี้
1. จากการอ่านงานวิชาการต่าง ๆ เช่น ตำรา หนังสือพิมพ์ วารสาร งานวิจัย บทความหรือเอกสารต่าง ๆ
ตัวอย่าง
จากการอ่านหนังสือพิมพ์ พบว่า มะนาวกับมะกรูดเป็น
พืชที่มีความใกล้ชิดกันสามารถนำมะนาวมาเสียบยอดบนต้นมะกรูดได้
ก็อาจจะทำให้นักเรียนนำวิธีการดังกล่าวไปใช้กับต้นไม้อื่น ๆ ที่มี
ความใกล้ชิดกันและอาจนำมาเสียบยอดกันได้ เช่น ต้นชบากับ
กระเจี๊ยบขาวอยู่ในตระกูลเดียวกัน หรือต้นมะลิลาอยู่ในตระกูล
เดียวกับต้นพุด นักเรียนก็เลยคิดทำโครงงานเรื่อง “การเสียบยอด
กระเจี๊ยบขาวบนต้นชะบา” หรือ “การเสียบยอดมะลิลาบนต้นพุด”
2. จากการฟังบรรยายทางวิชาการ การฟังและชมรายการทางวิทยุ โทรทัศน์
ตัวอย่าง
เรื่องเกี่ยวกับพืช อาจคิดเรื่องที่จะทำโครงงานที่เกี่ยวกับ เช่น
- การนำโฟมมาใช้ในการปักชำพืช
- การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
- การสกัดสีผสมอาหารจากพืช
- การสำรวจพืชสมุนไพรในท้องถิ่น
- ปุ๋ยสูตรพิเศษสำหรับการเจริญเติบโตของพืช
ตัวอย่าง
เรื่องเกี่ยวกับปลา อาจคิดเรื่องที่จะทำโครงงานเกี่ยวกับ เช่น
- การสำรวจและจำแนกชนิดของปลาน้ำจืด
- การใช้สมุนไพรบางชนิดแปลงเพศปลา
- การศึกษาพฤติกรรมผสมพันธุ์และการออกไข่ของปลา
- สูตรอาหารเลี้ยงปลา
- เครื่องให้ออกซิเจนแบบประหยัดสำหรับตู้ปลา
- ที่กรองเศษอาหารสำหรับตู้ปลาแบบประหยัด
- วิธีการเพาะเลี้ยงปลาให้ได้ลูกเป็นจำนวนมาก
2. จากกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน
ตัวอย่าง
ครูเคยสอนให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทดสอบปริมาณวิตามินซี
มาแล้วในบทเรียน ก็อาจนำความรู้เกี่ยวกับวิธีการทดสอบปริมาณ
วิตามินซีไปกำหนดเป็นหัวข้อโครงงานได้ เช่น
- การเปรียบเทียบวิตามินซีของผลไม้ชนิดต่าง ๆ
- กรรมวิธีในการรักษาคุณค่าของวิตามินซีในผัก ผลไม้ชนิดต่างๆ
3. จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน ก็สามารถนำมาทำโครงงานได้
ตัวอย่าง
- การใช้ใบพลูแก้ลมพิษ
- การใช้สีจากพืชย้อมผ้า
- การใช้ใบสาบเสือห้ามเลือด
- การสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวิทยาศาสตร์
- การสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรม
- สูตรการทำบั้งไฟ
4. จากการสังเกตปรากฏการณ์สิ่งแวดล้อมรอบตัว
ตัวอย่าง
บ้าน/โรงเรียนอยู่ใกล้แหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ก็อาจทำโครงงาน
เกี่ยวกับ
- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติหรือความเป็นมาของโบราณสถาน
โบราณวัตถุ
ตัวอย่าง
จังหวัดนครนายกเป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็อาจทำโครงงานเกี่ยวกับ - การสำรวจแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก
- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติหรือความเป็นมาของ
แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก
ตัวอย่าง
จังหวัดนครนายก มีการปลูกมะยงชิด มะปรางหวาน ก็อาจทำโครงงาน
เกี่ยวกับ
- วิธีการปลูกมะยงชิดให้ผลโตเท่าไข่ไก่และมีรสหวาน
- การประยุกต์วิธีการตอน การทาบกิ่งมะยงชิดให้ได้ผลเร็ว
- ปุ๋ยสูตรพิเศษสำหรับการเจริญเติบโตของมะยงชิด
5. จากการศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มีผู้อื่นทำไว้แล้ว
ตัวอย่าง
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนเพศปลาหางนกยูงโดยใช้ไรแดง
อาจจะประยุกต์วิธีการดังกล่าวมาใช้เปลี่ยนเพศปลาชนิดอื่น ๆ เช่น
- การแปลงเพศปลานิล
- การแปลงเพศปลากัด
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย อาจดัดแปลงมาเป็น
โครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น
- การศึกษาเกี่ยวกับสูตรอาหารเลี้ยงผึ้ง
- ดอกไม้เทียมเลี้ยงผึ้ง
- พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของผึ้ง
6. จากการสนทนากับครู อาจารย์ เพื่อน หรือบุคคลอื่น
ตัวอย่าง
การสนทนาเกี่ยวกับไก่ อาจคิดมาเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น
- สูตรอาหารเสริมพิเศษสำหรับไข่ไก่
- เครื่องเพาะฟักไข่ไก่แบบประหยัด
- การนำขนไก่มาทำเป็นอาหารเสริมเลี้ยงสัตว์
- สูตรอาหารเพาะเลี้ยงไส้เดือนจากมูลไก่
- วิธีการฟักไข่ไก่ที่ร้าวให้เป็นตัว
- การศึกษาพฤติกรรมก้าวร้าวในไก่พื้นเมือง
- ผลของฮอร์โมนเพศกับไก่
- การใช้สมุนไพรในการเลี้ยงไก่
- การศึกษาประวัติไก่ชน
6. จากงานที่เป็นอาชีพในท้องถิ่น
ตัวอย่าง
ถ้าชาวบ้านในท้องถิ่นมีอาชีพในการปลูกต้นตาลและทำน้ำตาลโตนดขาย
อาจคิดมาเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น
- การทำน้ำตาลผงสูตรพิเศษในการทำขนมตาลให้ฟู
- กรรมวิธีในการเก็บรักษาน้ำตาลไม่ให้บูดเสีย
- วิธีการเก็บรักษาน้ำตาลปึกค้างปีไม่ให้มีสีดำ
- เทคนิคการเพาะต้นตาล
- การทำกระดาษจากส่วนต่าง ๆ ของตาล
- วิธีการกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูของต้นตาล
ถ้าชาวบ้านในท้องถิ่นมีอาชีพในการทำขนมไทยขาย อาจคิดมาเป็น
โครงงาน เช่น
- ศึกษาเกี่ยวกับชนิดของขนมไทย
- ขนมไทยในวรรณคดี
- ขนมไทยตามกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
- สีผสมขนมไทยจากพืชท้องถิ่น
- ประวัติขนมไทย

หลังจากเลือกหัวเรื่องที่จะทำโครงงานได้แล้วว่าจะศึกษาสิ่งใด สิ่งที่ควรทำต่อไปคือ
การตั้งชื่อโครงงาน ซึ่งชื่อเรื่องของโครงงานจะเป็นสิ่งที่จะชี้ให้ผู้อื่นเข้าใจปัญหา วิธีการศึกษาของโครงงานนั้น ซึ่งชื่อเรื่องที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. ตั้งชื่อเรื่องให้ตรงกับเรื่องที่ศึกษา ซึ่งเมื่ออ่านชื่อเรื่องแล้วทำให้สามารถบอกได้ว่า
เรื่องนั้นมีลักษณะวิธีการศึกษาอย่างไร เช่น
- การฟักไข่ร้าวให้เป็นตัวด้วยกาวบางชนิด
- การสำรวจพืชสมุนไพรในท้องถิ่น
- การทำกระดาษจากกาบกล้วย
2. ตั้งชื่อเรื่องให้กะทัดรัดได้ใจความสมบูรณ์ สื่อความหมายตรงเข้าใจง่ายรัดกุม เช่น
- การทำชะอมแตกยอดนอกฤดู
- การชะลอการบูดของอาหารด้วยขิง
- การใช้ยาแอสไพรินชะลอการเหี่ยวของดอกกุหลาบ
3. ควรมีการเร้าความสนใจ แต่ต้องไม่ตั้งชื่อให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเกินความเป็นจริง เช่น
- การเปลี่ยนเพศปลาหางนกยูงด้วยไรแดง
- การเสียบยอดมะกอกฝรั่งแคระบนตอปักชำมะกอกบ้าน
- เครื่องพ่นยาอัตโนมัติแบบประหยัด
- การทำให้ชบาออกฝักเป็นกระเจี๊ยบเขียว
- การใช้เมล็ดโฟมป้องกันหนอนผีเสื้อกินใบส้ม

Monday, June 4, 2007

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์

การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องและมีการดำเนินงานหลายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนสุดท้าย แบ่งเป็นขั้นตอนใหญ่ ๆ ได้ 6 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 การคิดหรือเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน

ขั้นที่ 2 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง


ขั้นที่ 3 การเขียนเค้าโครงย่อของโครงงาน

ขั้นที่ 4 การลงมือทำโครงงาน

ขั้นที่ 5 การเขียนรายงาน


ขั้นที่ 6 การแสดงผลงาน

Tuesday, May 29, 2007

บทบาทครูกับการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์


1. ให้คำอธิบายเพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจในการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ ความหมายของโครงงาน ประเภทของโครงงาน ขั้นตอนการทำโครงงาน การเขียน
เค้าโครงย่อของโครงงาน และการเขียนรายงานให้สมบูรณ์ ก่อนที่จะให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการ
2. เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ กำกับติดตามการทำงานและประเมินผลโครงงานแต่ไม่ควรเป็นผู้คิดขั้นตอนการทำและลงมือทำให้นักเรียน นักเรียนจะต้องคิด วางแผนและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
3. เป็นผู้ช่วยเหลือนักเรียนในด้านการพิจารณาเค้าโครงย่อของโครงงาน การจัดหาแหล่งความรู้หรือแหล่งเรียนรู้ แหล่งในการศึกษาค้นคว้า รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
4. เป็นผู้กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความอยากรู้ อยากศึกษาค้นคว้า เพื่อให้แสดงออกถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลิตผลงานที่เกิดจากโครงงานได้ด้วยตนเอง อีกทั้งให้การสนับสนุน ให้กำลังใจและฝึกนักเรียนมีความอดทนต่อการทำงาน และสามารถแก้ไขปัญหาในการทำงานได้
5. ดูแลนักเรียนระหว่างทำโครงงานในเรื่องความสะดวก ปลอดภัยในการทำโครงงานจะต้องชี้แจงและให้คำแนะนำด้วย
6. เป็นผู้แนะนำให้นักเรียนเขียนรายงานโครงงาน การจัดผังแสดงโครงงาน
การจัดกระทำข้อมูลอย่างถูกต้อง
บทบาทครูที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ดังนี้
1. ระยะเริ่มโครงงาน หมายถึง ระยะที่นักเรียนได้หัวข้อเรื่องโครงงาน ครูที่ปรึกษาควรปฏิบัติดังนี้
1.1 พิจารณาความเป็นไปได้ของเรื่อง โดยดูว่าโครงงานของนักเรียนที่เสนอมานั้นจะมีทางทำสำเร็จหรือไม่ กรณีที่โครงงานมีความเป็นไปได้น้อย ครูที่ปรึกษาอาจแนะนำให้เปลี่ยนเรื่องใหม่
1.2 ขยายขอบเขตของเรื่องให้กว้างขึ้น กรณีที่เสนอเรื่องที่แคบเกินไป
1.3 แนะนำเอกสารและแหล่งค้นคว้าให้นักเรียน หรือหาจากแหล่งภายนอกอื่นๆ
1.4 เสนอแนะวิธีการวางแผน และการเขียนเค้าโครงย่อ
1.5 ตรวจเค้าโครงย่อ ครูควรตรวจจุดสำคัญ เช่น
- จุดมุ่งหมาย เขียนถูกต้องสอดคล้องกับความต้องการที่จะศึกษาหรือไม่
- โครงงานประเภทสำรวจ ควรดูรายละเอียดดังนี้
- มีการกำหนดขอบเขตที่จะศึกษาหรือไม่
- เครื่องมือที่ใช้เหมาะสมหรือไม่
- ระยะเวลาที่ใช้เหมาะสมหรือไม่
- ช่วงเวลาที่ศึกษาเหมาะสมหรือไม่
- ออกแบบตารางบันทึกผลเหมาะสมหรือไม่
- โครงงานประเภททดลอง ควรดูรายละเอียดดังนี้
- มีตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมหรือไม่
- กำหนดตัวแปรต้นหรือไม่
- เกณฑ์ที่ใช้วัดตัวแปรตามเหมาะสมหรือไม่
- เครื่องมือที่ใช้วัดเหมาะสมหรือไม่
- ตัวแปรที่ต้องควบคุมกำหนดหรือไม่
- ระยะเวลาที่ศึกษาเพียงพอหรือไม่
- ออกแบบตารางบันทึกผลเหมาะสมหรือไม่
2. ระยะลงมือปฏิบัติ หมายถึง ระยะที่นักเรียนจัดเตรียมอุปกรณ์ไปจนถึงระยะสิ้นสุดของการศึกษาหรือการทดลอง ครูที่ปรึกษาควรปฏิบัติดังนี้
2.1 จัดสถานที่สำหรับทำโครงงานให้เป็นสัดส่วนเพราะบางทีต้องใช้เวลาหลายวัน ซึ่งถ้าไม่มีสถานที่อาจใช้มุมใดมุมหนึ่ง
2.2 จัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์และสารเคมีต่างๆ ที่จำเป็นในการทำโครงงานให้กับนักเรียนและให้นักเรียนรับผิดชอบ บางครั้งจำเป็นต้องมีการไปยืมจากแหล่งอื่น
2.3 ชี้แจงการใช้ห้องปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และอันตรายจากการใช้เครื่องมือ
2.4 ควรฝึกเทคนิคบางประการที่จำเป็นต้องใช้กับโครงงานให้เกิดความชำนาญในการทำโครงงาน
2.5 ติดตามผลการปฏิบัติงานของนักเรียนสม่ำเสมอ เนื่องจากการทำโครงงานส่วนใหญ่ทำนอกเวลาเรียน ดังนั้นครูที่ปรึกษาจึงต้องมีเวลาคอยควบคุมดูแลการทำโครงงานของนักเรียนแต่ถ้าครูที่ปรึกษามีเวลาน้อยก็ใช้วิธีการติดตามผล โดยให้นักเรียนเสนอผลการศึกษาเป็นระยะๆ ต่อครูที่ปรึกษาอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
2.6 ให้กำลังใจนักเรียนในระหว่างที่ดำเนินการทำโครงงานอยู่ เสริมสร้างกำลังใจเพื่อไม่ให้เกิดความท้อแท้
3. ระยะเวลาสิ้นสุด หมายถึง ระยะที่ทำการศึกษาหรือทดลองเสร็จสิ้นให้นักเรียนนำเสนอครูที่ปรึกษา โดยครูที่ปรึกษาดำเนินการดังนี้
3.1 แนะนำวิธีการจัดกระทำข้อมูล เช่น การออกแบบตาราง นำข้อมูลมาหาค่าเฉลี่ย แปลความหมายข้อมูล
3.2 เสนอแนะวิธีการเขียนรายงาน โดยมีตัวอย่างประกอบ
3.3 ตรวจรายงานพร้อมแก้ไขให้กับนักเรียน เนื่องจากนักเรียนยังขาดประสบการณ์ในการเขียนเมื่อตรวจแก้ไขเสร็จให้นักเรียนนำไปเขียนใหม่แล้วส่งกลับมาให้ครูตรวจอีกครั้งหนึ่ง


4. ระยะเตรียมการเสนอผลงานเพื่อจัดแสดง หรือส่งประกวด
4.1 จัดทำแผงสำหรับแสดงโครงงาน
4.2 เสนอแนะวิธีนำแผ่นโปสเตอร์แสดงโครงงาน เพื่อติดบนแผงแสดงโครงงาน
4.3 เสนอแนะการเตรียมอุปกรณ์ ผลการทดลองที่เป็นชิ้นงาน
4.4 ตรวจความถูกต้องของข้อความ
4.5 ฝึกให้นักเรียนอธิบายปากเปล่าในเรื่องโครงงานที่นักเรียนทำเพื่อให้เกิดความมั่นใจ
4.6 ในแต่ละปีการศึกษาครูที่ปรึกษาควรรวบรวมรายงานโครงงานไว้เพื่อใช้เป็นตัวอย่างและแนวทางในการทำโครงงาน
5. ระยะแสดงผลงาน
การแสดงผลงานในที่นี้ หมายถึง การแสดงผลงานในงานนิทรรศการ หรือการประกวดโครงงาน ครูที่ปรึกษาควรปฏิบัติดังนี้
5.1 ดูแลความเรียบร้อยในการติดตั้งแผงอุปกรณ์และชิ้นงาน
5.2 สร้างความมั่นใจให้กับนักเรียน โดยอาจให้นักเรียนซักซ้อมการอธิบาย
โครงงานอีกครั้งก่อนการแสดงต่อหน้าผู้ชม หรือกรรมการตัดสินโครงงาน
5.3 ให้กำลังใจนักเรียนในขณะที่นักเรียนแสดงโครงงานโดยดูอยู่ห่างๆ
ข้อควรคำนึงโครงงานที่นักเรียนทำต้องไม่ยากเกินไป เพราะอาจจะทำให้นักเรียนท้อแท้ และระยะเวลาที่ทำโครงงานไม่ควรยาวนานเกินไป เพราะจะทำให้นักเรียนเบื่อหน่าย พยายามทำให้นักเรียนทำโครงงานสำเร็จทุกขั้นตอนโครงงานที่ทำไม่ต้องใช้งบประมาณมาก และควรคำนึงถึงความปลอดภัย

Monday, May 28, 2007

ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์


สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2531 : 7) ได้แบ่งโครงงานวิทยาศาสตร์ ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. โครงงานประเภทการทดลอง
2. โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล
3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
4. โครงงานประเภททฤษฎี
1. โครงงานประเภทการทดลอง เป็นโครงงานที่มีการออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของตัวแปรหนึ่งที่มีต่อตัวแปรอีกตัวแปรหนึ่ง โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาไว้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นโครงงานที่มีการจัดกระทำกับตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ มีการวัดตัวแปรตามและควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการศึกษา โดยทั่ว ๆ ไปขั้นตอน
การดำเนินงานของโครงงานประเภทนี้จะประกอบด้วยการกำหนดปัญหา การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง การดำเนินการทดลอง การรวบรวมข้อมูล การแปลผลและสรุปผล เช่น
- ศึกษาชนิดของน้ำที่เหมาะสมต่อการปลูกแตงกวา
- เปรียบเทียบการปลูกพืชโดยใช้ดินกับการไม่ใช้ดิน
- ศึกษาความเข้มข้นของฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
2. โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล เป็นโครงงานที่ไม่มีการจัดหรือกำหนด
ตัวแปรอิสระ ผู้ทำโครงงานเพียงสำรวจและรวบรวมข้อมูลแล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ และนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ในเรื่องที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น การสำรวจและรวบรวมข้อมูลนี้อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น การออกไปเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคสนาม ซึ่งบางเรื่องก็สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการในท้องถิ่นหรือสถานที่ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าได้ทันทีในขณะที่ออกไปปฏิบัติการนั้น โดยไม่ต้องนำวัสดุตัวอย่างกลับมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการอีก เช่น
- การศึกษาสำรวจมลพิษของอากาศในแหล่งต่าง ๆ
- การเก็บตัวอย่างน้ำมาตรวจสอบหาความเป็นกรด เบสและความหนาแน่น
- การสำรวจพืชชนิดต่าง ๆ ในบริเวณโรงเรียน
3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้หรืออุปกรณ์เพื่อประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่ง
อาจเป็นการคิดประดิษฐ์ของใหม่ ๆ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานประเภทนี้รวมไปถึงการสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายแนวความคิดต่าง ๆ เช่น
- กระสวยอวกาศ
- ลิฟท์พลังงานโน้มถ่วง
- เครื่องอบมันสำปะหลัง
- แบบจำลองบ้านพลังงานแสงอาทิตย์
- หุ่นยนต์ใช้งานในบ้าน
4. โครงงานประเภททฤษฎี เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบาย โดยผู้เสนอได้ตั้งกติกาหรือข้อตกลงขึ้นมาเอง แล้วเสนอทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือจินตนาการของตนเองตามกติกาหรือข้อตกลงนั้น หรืออาจใช้กติกาหรือข้อตกลงมาอธิบายสิ่งหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในแนวใหม่ ทฤษฎี หลักการ แนวคิดหรือจินตนาการที่เสนอนี้อาจจะใหม่ ยังไม่มีใครคิดมาก่อน หรืออาจขัดแย้งกับทฤษฎีเดิม หรือเป็นการขยายทฤษฎีหรือความคิดเดิมก็ได้ การทำโครงงานประเภทนี้จุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดีจึงจะเสนอโครงงานประเภทนี้ได้อย่างมีเหตุมีผลน่าเชื่อถือ โดยทั่วไปโครงงานประเภทนี้มักเป็นโครงงานทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เช่น
- การอธิบายอวกาศแนวใหม่
- ทฤษฎีของจำนวนเฉพาะ
ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์


สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2531 : 7) ได้แบ่งโครงงานวิทยาศาสตร์ ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. โครงงานประเภทการทดลอง
2. โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล
3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
4. โครงงานประเภททฤษฎี
1. โครงงานประเภทการทดลอง เป็นโครงงานที่มีการออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของตัวแปรหนึ่งที่มีต่อตัวแปรอีกตัวแปรหนึ่ง โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาไว้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นโครงงานที่มีการจัดกระทำกับตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ มีการวัดตัวแปรตามและควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการศึกษา โดยทั่ว ๆ ไปขั้นตอน
การดำเนินงานของโครงงานประเภทนี้จะประกอบด้วยการกำหนดปัญหา การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง การดำเนินการทดลอง การรวบรวมข้อมูล การแปลผลและสรุปผล เช่น
- ศึกษาชนิดของน้ำที่เหมาะสมต่อการปลูกแตงกวา
- เปรียบเทียบการปลูกพืชโดยใช้ดินกับการไม่ใช้ดิน
- ศึกษาความเข้มข้นของฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
2. โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล เป็นโครงงานที่ไม่มีการจัดหรือกำหนด
ตัวแปรอิสระ ผู้ทำโครงงานเพียงสำรวจและรวบรวมข้อมูลแล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ และนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ในเรื่องที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น การสำรวจและรวบรวมข้อมูลนี้อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น การออกไปเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคสนาม ซึ่งบางเรื่องก็สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการในท้องถิ่นหรือสถานที่ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าได้ทันทีในขณะที่ออกไปปฏิบัติการนั้น โดยไม่ต้องนำวัสดุตัวอย่างกลับมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการอีก เช่น
- การศึกษาสำรวจมลพิษของอากาศในแหล่งต่าง ๆ
- การเก็บตัวอย่างน้ำมาตรวจสอบหาความเป็นกรด เบสและความหนาแน่น
- การสำรวจพืชชนิดต่าง ๆ ในบริเวณโรงเรียน
3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้หรืออุปกรณ์เพื่อประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่ง
อาจเป็นการคิดประดิษฐ์ของใหม่ ๆ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานประเภทนี้รวมไปถึงการสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายแนวความคิดต่าง ๆ เช่น
- กระสวยอวกาศ
- ลิฟท์พลังงานโน้มถ่วง
- เครื่องอบมันสำปะหลัง
- แบบจำลองบ้านพลังงานแสงอาทิตย์
- หุ่นยนต์ใช้งานในบ้าน
4. โครงงานประเภททฤษฎี เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบาย โดยผู้เสนอได้ตั้งกติกาหรือข้อตกลงขึ้นมาเอง แล้วเสนอทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือจินตนาการของตนเองตามกติกาหรือข้อตกลงนั้น หรืออาจใช้กติกาหรือข้อตกลงมาอธิบายสิ่งหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในแนวใหม่ ทฤษฎี หลักการ แนวคิดหรือจินตนาการที่เสนอนี้อาจจะใหม่ ยังไม่มีใครคิดมาก่อน หรืออาจขัดแย้งกับทฤษฎีเดิม หรือเป็นการขยายทฤษฎีหรือความคิดเดิมก็ได้ การทำโครงงานประเภทนี้จุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดีจึงจะเสนอโครงงานประเภทนี้ได้อย่างมีเหตุมีผลน่าเชื่อถือ โดยทั่วไปโครงงานประเภทนี้มักเป็นโครงงานทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เช่น
- การอธิบายอวกาศแนวใหม่
- ทฤษฎีของจำนวนเฉพาะ
ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์


สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2531 : 7) ได้แบ่งโครงงานวิทยาศาสตร์ ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. โครงงานประเภทการทดลอง
2. โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล
3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
4. โครงงานประเภททฤษฎี
1. โครงงานประเภทการทดลอง เป็นโครงงานที่มีการออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของตัวแปรหนึ่งที่มีต่อตัวแปรอีกตัวแปรหนึ่ง โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาไว้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นโครงงานที่มีการจัดกระทำกับตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ มีการวัดตัวแปรตามและควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการศึกษา โดยทั่ว ๆ ไปขั้นตอน
การดำเนินงานของโครงงานประเภทนี้จะประกอบด้วยการกำหนดปัญหา การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง การดำเนินการทดลอง การรวบรวมข้อมูล การแปลผลและสรุปผล เช่น
- ศึกษาชนิดของน้ำที่เหมาะสมต่อการปลูกแตงกวา
- เปรียบเทียบการปลูกพืชโดยใช้ดินกับการไม่ใช้ดิน
- ศึกษาความเข้มข้นของฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
2. โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล เป็นโครงงานที่ไม่มีการจัดหรือกำหนด
ตัวแปรอิสระ ผู้ทำโครงงานเพียงสำรวจและรวบรวมข้อมูลแล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ และนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ในเรื่องที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น การสำรวจและรวบรวมข้อมูลนี้อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น การออกไปเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคสนาม ซึ่งบางเรื่องก็สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการในท้องถิ่นหรือสถานที่ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าได้ทันทีในขณะที่ออกไปปฏิบัติการนั้น โดยไม่ต้องนำวัสดุตัวอย่างกลับมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการอีก เช่น
- การศึกษาสำรวจมลพิษของอากาศในแหล่งต่าง ๆ
- การเก็บตัวอย่างน้ำมาตรวจสอบหาความเป็นกรด เบสและความหนาแน่น
- การสำรวจพืชชนิดต่าง ๆ ในบริเวณโรงเรียน
3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้หรืออุปกรณ์เพื่อประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่ง
อาจเป็นการคิดประดิษฐ์ของใหม่ ๆ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานประเภทนี้รวมไปถึงการสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายแนวความคิดต่าง ๆ เช่น
- กระสวยอวกาศ
- ลิฟท์พลังงานโน้มถ่วง
- เครื่องอบมันสำปะหลัง
- แบบจำลองบ้านพลังงานแสงอาทิตย์
- หุ่นยนต์ใช้งานในบ้าน
4. โครงงานประเภททฤษฎี เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบาย โดยผู้เสนอได้ตั้งกติกาหรือข้อตกลงขึ้นมาเอง แล้วเสนอทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือจินตนาการของตนเองตามกติกาหรือข้อตกลงนั้น หรืออาจใช้กติกาหรือข้อตกลงมาอธิบายสิ่งหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในแนวใหม่ ทฤษฎี หลักการ แนวคิดหรือจินตนาการที่เสนอนี้อาจจะใหม่ ยังไม่มีใครคิดมาก่อน หรืออาจขัดแย้งกับทฤษฎีเดิม หรือเป็นการขยายทฤษฎีหรือความคิดเดิมก็ได้ การทำโครงงานประเภทนี้จุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดีจึงจะเสนอโครงงานประเภทนี้ได้อย่างมีเหตุมีผลน่าเชื่อถือ โดยทั่วไปโครงงานประเภทนี้มักเป็นโครงงานทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เช่น
- การอธิบายอวกาศแนวใหม่
- ทฤษฎีของจำนวนเฉพาะ
ความสำคัญและประโยชน์ของโครงงานวิทยาศาสตร์


ธีระชัย ปูรณโชติ (2531 : 3-4) ได้กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของโครงงานวิทยาศาสตร์ ไว้ดังต่อไปนี้
1. ช่วยส่งเสริมจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและการเรียนวิทยาศาสตร์ให้สัมฤทธิ์ผลสมบูรณ์ยิ่งขั้น
2. ช่วยให้นักเรียนมีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. ช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้นกว่าการเรียนในกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติ นักเรียนมีโอกาสได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์บางทักษะซึ่งไม่ใคร่มีโอกาสในกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติ เช่น ทักษะการตั้งสมมติฐาน ทักษะการออกแบบการทดลอง และควบคุมตัวแปร เป็นต้น
4. ช่วยพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ และความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์
5. ช่วยให้นักเรียนเข้าใจลักษณะและธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ดียิ่งขึ้น เช่น เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ไม่ได้หมายถึงแต่ตัวความรู้ในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับธรรมชาติเท่านั้นแต่ยัง หมายถึงกระบวนการแสวงหาความรู้เหล่านั้น และมีเจตคติหรือค่านิยมทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย การได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติจะต้องใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลอย่างมีระบบโดยอาศัยการสังเกตเป็นพื้นฐานแต่ประสาทสัมผัสของมนุษย์ ซึ่งใช้ในการสังเกตมีขีดความสามารถจำกัดในการรับรู้ ดังนั้น วิทยาศาสตร์จึงมีขอบเขตจำกัดด้วย
6. ช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความเป็นผู้มีวิจารณญาณ
7. ช่วยพัฒนานักเรียนให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
8. ช่วยพัฒนานักเรียนให้เป็นคนที่คิดเป็น ทำเป็น และมีความสามารถในการแก้ปัญหา
9. ช่วยพัฒนาความรับผิดชอบ และสร้างวินัยในตนเองให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
10. ช่วยให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และมีคุณค่า
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2531 : 56) ได้กล่าวถึงคุณประโยชน์ของโครงงานวิทยาศาสตร์ไว้ดังนี้
1. สร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเอง
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสวงหาความสามารถตามศักยภาพของตนเอง
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้าและเรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจได้ลึกซึ้งไป
กว่าการเรียนในหลักสูตรปกติ
4. ทำให้นักเรียนมีความสามารถพิเศษโดยมีโอกาสแสดงความสามารถของตน
5. ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์และมีความสนใจที่จะ
ประกอบอาชีพทางวิทยาศาสตร์
6. ช่วยให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการสร้างสรรค์
7. ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนด้วยกันให้มีโอกาส
ทำงานใกล้ชิดกันมากขึ้น
8. ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับโรงเรียนให้ดีขึ้น โรงเรียนได้มีโอกาสเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ชุมชนซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ชุมชนได้สนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น
สรุปได้ว่า โครงงานวิทยาศาสตร์มีความสำคัญและก่อประโยชน์โดยตรงแก่นักเรียนโดยตรงเป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สร้างความสัมพันธ์อันดีกับครูกับเพื่อนร่วมงาน รู้จักทำงานอย่างเป็นระบบใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

Friday, May 25, 2007

จุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์


ธีระชัย ปูรณโชติ (2531 : 1) ได้กำหนดจุดมุ่งหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์ไว้ดังนี้
1. เพื่อให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ตรงในการศึกษาค้นคว้าหรือวิจัยเบื้องต้นทางวิทยาศาสตร์ภายในขอบเขตของความรู้และประสบการณ์ตามขั้นตอนของตน
2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความรักและความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์
3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์และมีโอกาสแสดงออก
4. เพื่อพัฒนาความสามารถของนักเรียนในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหา
5. เพื่อให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
6. เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
7. เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2529 : 1) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ไว้ดังนี้
1. เพื่อให้นักเรียนใช้ความรู้และประสบการณ์เลือกทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตามที่ตนสนใจ
2. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง
3. เพื่อให้นักเรียนได้แสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4. เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ และเห็นคุณค่าของการใช้กระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา
5. เพื่อให้นักเรียนมองเห็นแนวทางในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในแต่ละท้องถิ่น
จะเห็นได้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์มีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนใช้กระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา รู้จักการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนและมีความรับผิดชอบและทำงานกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ParameciumParamecium tetraureliaParamecium aureliaParamecium caudatumThe Paramecium is a group of unicellular ciliate protozoa formerly known as slipper animalcules from their slipper shape. They are commonly studied as a representative of the ciliate group. Paramecia range from about 50 to 350 μm in length, depending on species. Simple cilia cover the body which allow the cell to move with a synchronous motion. There is also a deep oral groove containing inconspicuous compound oral cilia (as found in other peniculids) that is used to draw food inside. They generally feed upon bacteria and other small cells. Osmoregulation is carried out by a pair of contractile vacuoles, which actively expel water absorbed by osmosis from their surroundings.Paramecia are widespread in freshwater environments, and are especially common in scums. Paramecia are attracted by acidic conditions. Certain single-celled eukaryotes, such as Paramecium, are examples for exceptions to the universality of the genetic code (translation systems where a few codons differ from the standard ones).credit : http://en.wikipedia.org/wiki/Main_Page
หลักการของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์


ธีระชัย ปูรณโชติ (2531 : 1) ได้กล่าวถึง หลักการที่สำคัญของการทำกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ ไว้ดังนี้
1. เน้นการเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้นักเรียนริเริ่มวางแผนและดำเนินการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์เป็นผู้ชี้แนะแนวทางและให้คำปรึกษา
2. เน้นกระบวนการในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งแต่
การกำหนดปัญหาหรือเลือกหัวข้อที่สนใจ การวางแผนการศึกษาค้นคว้า การรวบรวมข้อมูลหรือการทดลองและการสรุปผลการศึกษาค้นคว้า
3. เน้นการคิดเป็นและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
4. การทำโครงงานวิทยาศาสตร์มุ่งฝึกให้นักเรียนรู้จักวิธีการศึกษาค้นคว้าและแก้ปัญหาด้วยตนเอง มิได้เน้นการส่งประกวดเพื่อรางวัล
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2530 : 4) ได้กล่าวถึงหลักการสำคัญของกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ ไว้ดังนี้
1. เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้นักเรียนริเริ่มวางแผนและดำเนินการศึกษา
ด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์เป็นผู้ชี้แนะและให้คำปรึกษา
2. เน้นกระบวนการในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งแต่
การกำหนดปัญหาหรือเลือกหัวข้อที่สนใจ การวางแผนการศึกษาค้นคว้า การรวบรวมข้อมูลหรือการทดลอง
และการสรุปผลการศึกษาค้นคว้า
3. เน้นการคิดเป็น ทำเป็น และการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
4. การทำกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์มุ่งฝึกให้นักเรียนเรียนรู้วิธีการศึกษาค้นคว้า
และแก้ปัญหาด้วยตนเองมิได้เน้นการส่งเข้าประกวดเพื่อรับรางวัล
สรุปได้ว่า หลักการโครงงานวิทยาศาสตร์ มุ่งฝึกให้นักเรียนรู้จักการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การแก้ปัญหาด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

Wednesday, May 23, 2007

Selected biography

Selected biography
Benjamin Franklin (January 17 [O.S. January 6] 1706April 17, 1790) was one of the best-known Founding Fathers of the United States. He was a leading author, politician, printer, scientist, philosopher, publisher, inventor, civic activist, and diplomat. He founded the United States' earliest libraries, including The Library Company of Philadelphia and those found at the University of Pennsylvania, Harvard University, Brown University, Dartmouth College, and many others. As a scientist he was a major figure in the history of physics for his discoveries and theories regarding electricity. As a political writer and activist he, more than anyone, invented the idea of an American nation,[1] and as a diplomat during the American Revolution, he secured the French alliance that helped to make independence possible.
Franklin was noted for his curiosity, his writings (popular, political and scientific), and his diversity of interests. As a leader of the Enlightenment, he gained the recognition of scientists and intellectuals across Europe. An agent in Lond on before the Revolution, and Minister to France during it, he more than anyone defined the new nation in the minds of Europe. His success in securing French military and financial aid was a great contributor to the American victory over Britain. He invented the lightning rod; he was an early proponent of colonial unity; historians hail him as the "First American."

credit : http://en.wikipedia.org/wiki/Main_Page
ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์
มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์ สรุปไว้ดังต่อไปนี้
กระทรวงศึกษาธิการ (2533 : 5) กล่าวว่า เป็นการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เปิดโอกาสให้
นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองภายใต้การดูแล และให้คำปรึกษาของครูอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษาค้นคว้า ดำเนินการวางแผน ออกแบบประดิษฐ์ สำรวจ ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลรวมทั้งการแปลผล สรุปผล และการเสนอผลงาน
ธีระชัย ปูรณโชติ (2531 : 1) กล่าวว่า เป็นการศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งนักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยอาศัยวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ ภายใต้คำแนะนำปรึกษาและการดูแลของครูหรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ และอาจใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วยให้การศึกษาค้นคว้านั้นบรรลุผลตามวัตถุประสงค์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2529 : 1-2) กล่าวว่า เป็นการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนตามความสนใจและระดับความรู้ ความสามารถ ภายใต้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อตอบปัญหาที่สงสัยได้ผลงานที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การทำโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเสริมด้านวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี โดยนักเรียนเป็นผู้วางแผนการศึกษาค้นคว้า ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล สรุปผลและเสนอผลการศึกษาด้วยตนเอง เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครู อาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นเพียงผู้ให้การปรึกษา
จะเห็นได้ว่าโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง อาจจัดในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้ เป็นการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีครูคอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
คุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์


กระทรวงศึกษาธิการ (2533 : 7-8) ได้สรุปคุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์ไว้ดังนี้
1. สร้างความสำนึกและรับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้านต่าง ๆ ด้วยตนเอง
2. เปิดโอกาสให้กับนักเรียนทุกคนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของ
ตนเอง
3. เปิดโอกาสให้กับนักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจได้ลึกซึ้งกว่าการเรียนในหลักสูตรปกติ
4. ทำให้นักเรียนมีความสามารถพิเศษได้มีโอกาสแสดงความสามารถของตนเอง
5. ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
6. ช่วยให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
7. ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนด้วยกันให้มีโอกาสใกล้ชิดกันมากขึ้น
8. ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับโรงเรียนให้ดีขึ้น โรงเรียนได้มีโอกาสเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ชุมชน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ชุมชนได้สนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ตนเองสนใจ และได้แสดงความสามารถของตนเอง มีการทำงานที่เป็นระบบใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน โดยทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการทำงาน

Thursday, May 17, 2007

โครงงานวิทยาศาสตร์

การจัดกิจกรรมการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นเทคนิคหนึ่งที่ครูผู้สอนสามารถนำไปใช้สอนกับนักเรียนของตนได้ เนื่องจากโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นเทคนิคหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยนักเรียนได้ประสบการณ์โดยตรง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกันเองตลอดจนครูผู้สอน นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การทำงานที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีการวางแผนการการทำงาน มีกระบวนการกลุ่มฝึกการเป็นผู้นำ
ผู้ตาม ได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะได้ฝึกนักเรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ฝึกการค้นคว้าหาข้อมูล โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เมื่อนักเรียนได้ฝึกทำโครงงานวิทยาศาสตร์แล้วผู้เขียนเชื่อว่านักเรียนจะได้ทั้งองค์ความรู้ในเรื่องที่ทำและเกิดทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นอย่างไร

การจัดการเรียนรู้โดยโครงงานวิทยาศาสตร์

การจัดกิจกรรมการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นเทคนิคหนึ่งที่ครูผู้สอนสามารถนำไปใช้สอน
กับนักเรียนของตนได้ เนื่องจากโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นเทคนิคหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ โดยนักเรียนได้ประสบการณ์โดยตรง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกันเองตลอดจน
ครูผู้สอน นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การทำงานที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีการวางแผนการการทำงาน มีกระบวนการกลุ่มฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม ได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะได้ฝึกนักเรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ฝึกการค้นคว้าหาข้อมูล โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เมื่อนักเรียนได้ฝึกทำโครงงานวิทยาศาสตร์แล้วผู้เขียนเชื่อว่านักเรียนจะได้ทั้งองค์ความรู้ในเรื่องที่ทำและเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นอย่างไร

Monday, May 14, 2007

ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ

นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจักรวาลที่มีลักษณะเหมือนโลกเป็นครั้งแรกดาวเคราะห์ที่ถูกค้นพบนี้มีลักษณะอุณหภูมิที่ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไปเหมือนดาวเคราะห์อื่นๆที่ถูกค้นพบมาก่อน อุณหภูมิของดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ที่ประมาณ 0 ถึง 40 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่น้ำจะอยู่ในรูปของของเหลว และนั่นก็หมายถึงสิ่งมีชีวิตสามารถที่จะอาศัยอยู่ได้ เพราะน้ำเป็นสิ่งจำเป็นในการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต จากโครงสร้างจำลองนักวิทยาศาตร์คาดว่าพื้นผิวของดาวเคราะห์ดวงนี้น่าจะเป็นหินเหมือนโลกเรา หรือไม่ก็ปกคลุมไปด้วยทะเลดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจักรวาลดวงนี้มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่เคยพบ มีรัศมีประมาณ 1.5 เท่าของโลก มีมวลสารมากกว่าโลก 5 เท่าและโคจรรอบดาวฤกษ์ ชื่อ Gliese 581 (เปรียบได้กับดวงอาทิตย์ของระบบสุริยะจักรวาลเรา) โดยระยะเวลาในการโคจรใช้เวลาเพียงแค่ 13 วัน ทั้งนี้เพราะว่ามันอยู่ใกล้กับดาวฤกษ์ Gliese 581 มาก เมื่อเปรียบเทียบระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์แล้ว ดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ใกล้ดาวฤกษ์ Gliese 581 มากกว่าถึง 14 เท่า แต่เนื่องจากดาวฤกษ์ Gliese 581 มีขนาดเล็กกว่า และอุณหภูมิต่ำกว่าดวงอาทิตย์ของเรามาก อุณหภูมิของดาวเคราะห์จึงไม่ร้อนจนเกินไป และตำแหน่งที่อยู่นั้นมีอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ ดาวฤกษ์ Gliese 581 อยู่ห่างจากโลกเรา 20.5 ปีแสง อาศัยอยู่ในกลุ่มดาว Libra ถูกค้นพบโดยใช้กล้องดูดาว Eso 3.6m ที่หอดูดาว European Southern Observatory ที่เมือง La Silla ในทะเลทราย Atacama ประเทศชิลี การสำรวจพบว่าดาวฤกษ์ Gliese 581 มีดาวเคราะห์โคจรรอบๆอยู่สามดวง เริ่มจากดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกเรา 15 เท่าโคจรอยู่รอบในสุด ถัดมาเป็นดาวเคราะห์ที่กล่าวถึง และถัดมาเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกเรา 8 เท่าโคจรอยู่รอบนอกการตรวจสอบหาดาวเคราะห์ที่อยู่ระยะใกลมากๆนั้นนักดาราศาสตร์ต้องใช้วิธีตรวจสอบทางอ้อม โดยใช้เครื่องมือที่มีความไวต่อแสงสูง ที่สามารถวัดการเปลี่ยนแปลงของอัตราความเร็วในการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ในขณะที่ถูกแรงดึงดูดจากดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งนี้เนื่องจากนักดาราศาสตร์ไม่สามารถมองเห็นดาวเคราะห์โดยตรงได้เพราะแสงที่สว่างจ้ามากของดาวฤกษ์ที่มันโคจรอยู่ เทคโนโลยีของกล้องดูดาวปัจจุบันยังไม่สามารถจับภาพวัตถุที่อยู่ใกลๆและจางมากๆได้ โดยเฉพาะเมื่อวัตถุโคจรใกล้กับดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่างจ้าการค้นพบครั้งนี้สร้างความตื่นเต้นในวงการดาราศาสตร์มาก เพราะในบรรดาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจักวาลที่ค้นพบตอนนี้ประมาณ 200 กว่าดวง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเหมือนดาวจูปีเตอร์ คือเป็นกลุ่มก๊าซที่มีอุณหภูมิร้อนมากๆ เพราะโคจรอยู่ใกล้ดาวฤกษ์ที่ร้อนมาก มีดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจักรวาลดวงนี้เป็นดวงแรกที่มีบรรยากาศเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิต จึงจุดประกายความหวังให้กับนักดาราศาสตร์ที่จะใช้จะดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นเป้าหมายของโครงการทางอวกาศในอนาคตเพื่อสำรวจหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก อย่างไรก็ตามเนื่องจากดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ห่างจากโลกเราถึง 20 ปีแสง ด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ตอนนี้เรายังไม่สามารถเดินทางไปสำรวจได้ แต่เราสามารถตรวจสอบค้นหาข้อมูลของมันทางกล้องส่องดูดาวได้ โครงการจะติดตั้งกล้องส่องดวงดาวในอวกาศเพื่อสังเกตการณ์ต่างๆที่อาจบ่งชี้หรือเชื่อมโยงถึงกระบวนการของสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ โดยจะสังเกตหาร่องรอยของก๊าซเช่น ก๊าซมีเทน (methane) และสิ่งที่บ่งชี้ถึงสารครอโรฟีน สารสีเขียวในพืชที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะแสงแหล่งข่าว http://news.bbc.co.uk/2/hi/science/nature/6589157.stm

เครดิต : คุณ newsreader
http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=91565

Monday, April 16, 2007

จุดเริ่มต้น

จุดเิริ่มต้นของเวบนี้