ขั้นที่ 6 การแสดงผลงาน
การแสดงผลงานจัดเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการทำโครงงาน เรียกได้ว่าเป็นงานขั้นสุดท้ายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการแสดงผลิตผลของงาน ความคิดและความหมายทั้งหมดที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเทลงไป และเป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ
การแสดงผลงานอาจทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแสดงนิทรรศการ ซึ่งมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วย
คำพูด หรือในรูปแบบของการจัดแสดงโดยไม่มีการอธิบายประกอบ หรือรูปแบบของการรายงานปากเปล่า เป็นต้น
การแสดงนิทรรศการ
การแสดงนิทรรศการ ก่อให้เกิดการชื่นชมผลงานของตนเองและของผู้อื่น เกิดความภาคภูมิใจ เป็นแรงเสริม
ในการพัฒนางานชิ้นใหม่ต่อไป
การเตรียมเสนอผลงานเพื่อจัดแสดงนิทรรศการ
การเตรียมเสนอผลงานเพื่อจัดนิทรรศการ ควรดำเนินการดังนี้
1. จัดทำแผงสำหรับแสดงโครงงาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาจารย์ที่ปรึกษาและนักเรียนร่วมกันรับผิดชอบเพื่อประกอบ
การจัดแสดงนิทรรศการ โดยมีขนาดตามมาตรฐาน ดังนี้
แผ่น ก. 1 (แผ่นซ้าย) ก. 2 (แผ่นขวา) ขนาด 60 x 60 เซนติเมตร
แผ่น ข (แผ่นกลาง) ขนาด 60 x 120 เซนติเมตร ติดบานพับระหว่าง ก. 1 กับ ข กับ ก. 2 มีห่วงรับ
และขอสับทำมุมประมาณ 100 องศา กับแผ่นกลาง
2. จัดทำโปสเตอร์เพื่อติดบนแผงแสดงโครงงาน ควรเน้นจุดเด่น ๆ ข้อมูลต่าง ๆ ใช้วิธีสื่อความหมายข้อมูลในรูปของกราฟ รูปภาพ แผนภูมิ หรือตาราง ข้อความควรกระทัดรัด อ่านเข้าใจง่าย ชัดเจน ขนาดตัวอักษรสามารถอ่านได้ในระยะ 2 เมตร ภายในแผงโครงงาน ควรประกอบไปด้วยหัวข้อ ดังนี้
2.1 ชื่อโครงงาน
2.2 ผู้จัดทำโครงงาน
2.3 อาจารย์ที่ปรึกษา
2.4 สังกัด
2.5 บทคัดย่อ
2.6 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
2.7 จุดมุ่งหมาย
2.8 สมมติฐาน (ถ้ามี)
2.9 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
2.10 ขอบเขตของการศึกษา
2.11 คำนิยามศัพท์เฉพาะ
2.12 สถานที่ทำการศึกษา
2.13 ระยะเวลาในการศึกษา
2.14 วัสดุ อุปกรณ์
2.15 วิธีดำเนินการทดลอง
2.16 ผลการทดลอง
2.17 สรุปผลการทดลอง
2.18 ข้อเสนอแนะ
3. ควรมีอุปกรณ์และผลการทดลองที่เป็นของจริงหรือชิ้นงานสำหรับแสดงประกอบหน้าแผงโครงงานแต่ต้องระมัดระวังไม่ให้บังข้อความบนแผงโครงงาน
4. ตรวจสอบความถูกต้องทุกสิ่งทุกอย่างที่แสดง เช่น การสะกดคำ การเขียนอธิบายหลักการ ถ้าเป็นสิ่งประดิษฐ์ต้องอยู่ในสภาพที่ทำงานได้สมบูรณ์
5. มีความเหมาะสมและปลอดภัยกับเนื้อหาที่จัดแสดง เช่น ถ้าลมแรงควรยึด
แผงโครงงานให้มั่นคง มิเช่นนั้นอาจล้มลงทับอุปกรณ์ด้านหน้าเกิดความเสียหายได้
6. การอธิบายปากเปล่าหน้าแผงโครงงาน ผู้ที่ทำหน้าที่อธิบายควรได้รับการฝึกจากอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อให้เกิดความมั่นใจ และเพื่อพัฒนาเทคนิคการอธิบายปากเปล่าให้น่าสนใจ เช่น ลำดับและการแบ่งเนื้อหาในการอธิบายของคนในทีม การยกอุปกรณ์หรือผลการทดลองที่เป็นของจริงประกอบการอธิบาย ฯลฯ ซึ่งต้องอาศัยการร่วมมือที่สอดคล้อง ระหว่างผู้ร่วมงานเดียวกันให้ราบรื่น โดยไม่ติดขัดขณะทำการอธิบายปากเปล่า
7. การตอบข้อซักถาม นักเรียนควรได้รับการฝึกการตอบข้อซักถามทุกแง่ ทุกมุม จากอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องโครงงานที่ค้นคว้าและในการตอบผู้จัดทำโครงงานทั้งหมดต้อง
ช่วยกันเสริมคำตอบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยจังหวะและช่วงเวลาการพูดที่ไม่ใช่การแย่งกันตอบหรือเกี่ยงกันตอบ
Saturday, June 9, 2007
Friday, June 8, 2007
ตัวอย่างแบบฟอร์มการเขียนรายงานของโครงงานวิทยาศาสตร์
1. ปกนอก
1.1 ชื่อเรื่อง……………………………………………………………………………..
1.2 ชื่อผู้ทำโครงงาน
1…………………………………………ชั้น…………………..
2…………………………………………ชั้น…………………..
3…………………………………………ชั้น…………………..
4…………………………………………ชั้น…………………..
1.3 ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
1…………………………………………
2…………………………………………
1.4 หน่วยงานที่สังกัด
……………………………………………………………………………………….
2. ปกใน
ปกในจะมีรูปแบบเหมือนปกนอกทุกประการ
3. บทคัดย่อ
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
4. กิตติกรรมประกาศ
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
5. คำนำ
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
6. สารบัญ
6.1 สารบัญเรื่อง
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
คำนำ
บทที่ 1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
สมมติฐานของการศึกษา
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ขอบเขตของการศึกษา
คำนิยามศัพท์เฉพาะ
สถานที่ทำการศึกษา
ระยะเวลาในการศึกษา
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
วัสดุ อุปกรณ์
วิธีดำเนินการทดลอง
บทที่ 4 ผลการทดลอง
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา
อภิปรายผลการศึกษา
ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
6.2 สารบัญตาราง
สารบัญตาราง
ตาราง หน้า
1 แสดงหรือศึกษา………………………………………
2 แสดงหรือศึกษา………………………………………
6.3 สารบัญภาพประกอบ
สารบัญภาพประกอบ
ภาพประกอบ หน้า
1 แสดง…………………………………………………
2 แผนภูมิแท่งแสดง……………………………………
7. บทที่ 1 บทนำ
7.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.2 จุดมุ่งหมายของการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.3 สมมติฐานของการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.4 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
-ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ…………………………………………………….
-ตัวแปรตาม………………………………………………………………………
-ตัวแปรที่ต้องควบคุม…………………………………………………………….
7.5 ขอบเขตของการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.6 คำนิยามศัพท์เฉพาะ
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.7 สถานที่ทำการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.8 ระยะเวลาที่ทำการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
8. บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
9. บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีดำเนินการทดลอง
9.1 วัสดุ อุปกรณ์
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
9.2 วิธีดำเนินการทดลอง
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
10. บทที่ 4 ผลการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
11. บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ
11.1 สรุปผลการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
11.2 อภิปรายผลการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
11.3 ข้อเสนอแนะ
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
12. บรรณานุกรม
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
13. ภาคผนวก
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
1. ปกนอก
1.1 ชื่อเรื่อง……………………………………………………………………………..
1.2 ชื่อผู้ทำโครงงาน
1…………………………………………ชั้น…………………..
2…………………………………………ชั้น…………………..
3…………………………………………ชั้น…………………..
4…………………………………………ชั้น…………………..
1.3 ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
1…………………………………………
2…………………………………………
1.4 หน่วยงานที่สังกัด
……………………………………………………………………………………….
2. ปกใน
ปกในจะมีรูปแบบเหมือนปกนอกทุกประการ
3. บทคัดย่อ
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
4. กิตติกรรมประกาศ
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
5. คำนำ
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
6. สารบัญ
6.1 สารบัญเรื่อง
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
คำนำ
บทที่ 1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
สมมติฐานของการศึกษา
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ขอบเขตของการศึกษา
คำนิยามศัพท์เฉพาะ
สถานที่ทำการศึกษา
ระยะเวลาในการศึกษา
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
วัสดุ อุปกรณ์
วิธีดำเนินการทดลอง
บทที่ 4 ผลการทดลอง
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา
อภิปรายผลการศึกษา
ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
6.2 สารบัญตาราง
สารบัญตาราง
ตาราง หน้า
1 แสดงหรือศึกษา………………………………………
2 แสดงหรือศึกษา………………………………………
6.3 สารบัญภาพประกอบ
สารบัญภาพประกอบ
ภาพประกอบ หน้า
1 แสดง…………………………………………………
2 แผนภูมิแท่งแสดง……………………………………
7. บทที่ 1 บทนำ
7.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.2 จุดมุ่งหมายของการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.3 สมมติฐานของการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.4 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
-ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ…………………………………………………….
-ตัวแปรตาม………………………………………………………………………
-ตัวแปรที่ต้องควบคุม…………………………………………………………….
7.5 ขอบเขตของการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.6 คำนิยามศัพท์เฉพาะ
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.7 สถานที่ทำการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
7.8 ระยะเวลาที่ทำการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
8. บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
9. บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีดำเนินการทดลอง
9.1 วัสดุ อุปกรณ์
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
9.2 วิธีดำเนินการทดลอง
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
10. บทที่ 4 ผลการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
11. บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ
11.1 สรุปผลการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
11.2 อภิปรายผลการศึกษา
……………………………………………………………………………………………..
11.3 ข้อเสนอแนะ
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
12. บรรณานุกรม
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
13. ภาคผนวก
……………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………..
Thursday, June 7, 2007
การเขียนรายงาน
ขั้นที่ 5 การเขียนรายงาน
เมื่อดำเนินการทำโครงงานจนครบขั้นตอน ได้ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งแปลผลและสรุปผลแล้ว
งานที่ต้องทำต่อไปคือ เขียนรายงาน การเขียนรายงานก็เพื่อให้คนอื่น ๆ ได้เข้าใจถึงแนวคิด วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้าข้อมูล ผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ
การเขียนรายงาน ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กระชับ ชัดเจน สั้น ๆ ตรงไปตรงมาและครอบคลุมประเด็นสำคัญของโครงงานที่ได้ทำไปแล้ว โดยมีส่วนประกอบเรียงลำดับดังนี้
1. ปกนอก
1.1 ชื่อเรื่อง การตั้งชื่อเรื่องที่ดีนั้นควรมีลักษณะดังนี้
- ตรงกับเรื่องที่ศึกษา เมื่ออ่านแล้วสามารถบอกได้ว่าเรื่องที่ทำนั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งใด
- สั้นกระทัดรัด ชื่อโครงงานไม่ควรยาวเกินไป ควรตั้งให้สั้นกะทัดรัดและรัดกุมแต่ต้องได้ใจความตรงกับเรื่อง
- ไม่ควรเป็นประโยคคำถาม
- ใช้คำเร้าความสนใจ แต่ต้องไม่ทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไปจากเนื้อเรื่องของโครงงาน
1.2 ชื่อผู้ทำโครงงาน
1.3 ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
1.4 หน่วยงานที่สังกัด
2. ปกใน
ปกในจะมีรูปแบบเหมือนปกนอกทุกประการ
3. บทคัดย่อ
เขียนอธิบายวิธีการดำเนินการศึกษา ผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปอย่างย่อ ๆ ด้วยความเรียงติดต่อกันไป โดยทั่วไปนิยมเขียนไม่เกินหน้ากระดาษ
4. กิตติกรรมประกาศ
เป็นการกล่าวถึงหน่วยงาน หรือบุคคลที่มีส่วนทำให้โครงงานนี้ประสบความสำเร็จไม่ว่า จะเป็นการให้คำปรึกษา
คำแนะนำ การช่วยเหลือหรือให้การสนับสนุนด้านต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ ทุนสำหรับดำเนินการ ฯลฯ
5. คำนำ
เป็นการกล่าวถึงแนวคิด ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่ดำเนินการศึกษาค้นคว้า จุดมุ่งหมาย สมมติฐาน
และขอบข่ายอย่างย่อ ๆ อาจเขียนเป็น 2 – 3 ย่อหน้าก็ได้
6. สารบัญ
เป็นส่วนที่ระบุว่า ภายในเล่มรายงานโครงงานประกอบด้วยอะไรบ้าง ใช้รูปแบบการเขียนปริญญานิพนธ์ทั่วไป
โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน ตามลักษณะการนำเสนอข้อมูลและเรียงลำดับ ดังนี้
6.1 สารบัญเรื่อง
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
คำนำ
บทที่ 1 บทนำ
-ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
-จุดมุ่งหมายของการศึกษา
-สมมติฐานของการศึกษา
-ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
-ขอบเขตของการศึกษา
-คำนิยามศัพท์เฉพาะ
-สถานที่ทำการศึกษา
-ระยะเวลาในการศึกษา
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
-วัสดุ อุปกรณ์
-วิธีดำเนินการทดลอง
บทที่ 4 ผลการทดลอง
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
-สรุปผลการศึกษา
-อภิปรายผลการศึกษา
-ข้อเสนอแนะ
-บรรณานุกรม
-ภาคผนวก
6.2 สารบัญตาราง
การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง เป็นการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลที่ได้ทำการศึกษารูปแบบหนึ่ง
ส่วนใหญ่ใช้ในการบันทึกผลการศึกษา ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการค้นหาควรจัดทำสารบัญตาราง บอกลำดับที่
ชื่อ และหน้า ดังนี้
-สารบัญตาราง
-ตาราง หน้า
1 แสดงหรือศึกษา………………………………………
2 แสดงหรือศึกษา………………………………………
6.1 สารบัญภาพประกอบ
การถ่ายภาพประกอบ การเขียนแผนภูมิรูปแบบต่าง ๆ เป็นการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลที่ทำการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้กันแพร่หลาย การเลือกใช้รูปแบบการสื่อความหมายข้อมูลแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนั้น การจัดทำสารบัญภาพจึงเพิ่มความสะดวกในการค้นหาเช่นกัน โดยนับลำดับที่ของภาพประกอบ แยกออกจากลำดับที่ของตาราง ดังนี้
-สารบัญภาพประกอบ
-ภาพประกอบ หน้า
1 แสดง…………………………………………………
2 แผนภูมิแท่งแสดง……………………………………
7. บทที่ 1 บทนำ
7.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
อธิบายความสำคัญของโครงงาน เหตุผลที่เลือกทำโครงงานนี้ หลักการหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
เรื่องที่ทำ เป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นเคยศึกษาไว้บ้างแล้ว ถ้ามีได้ผลเป็นอย่างไร เรื่องที่ทำนี้ได้ขยายเพิ่มเติมหรือ
ปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นได้ทำไว้อย่างไรบ้าง
7.2 จุดมุ่งหมายของการศึกษา
ในบางครั้งอาจใช้คำว่า “วัตถุประสงค์ของการศึกษา” หรือถ้าเป็นโครงงานทดลองอาจใช้คำว่า “จุดมุ่งหมายของการทดลอง” ในการเขียนจะกล่าวถึงสิ่งที่ต้องการศึกษาหาคำตอบซึ่งมักนิยมเขียนในลักษณะความสัมพันธ์ระหว่าง
ตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
7.3 สมมติฐานของการศึกษา
สมมติฐานเป็นคำตอบหรืออธิบายที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าโดยยังไม่มีการทดสอบซึ่ง อาจจะถูกหรือไม่ถูกก็ได้ การเขียนสมมติฐานควรมีเหตุและมีผล มีทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์รองรับและที่สำคัญคือเป็นข้อความที่มองเห็น
แนวทางในการดำเนินการทดลองหรือสามารถทดสอบได้ ส่วนใหญ่การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์มีสมมติฐานของการศึกษา ยกเว้นโครงงานประเภทสำรวจ
7.4 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ได้แบ่งตัวแปรออกเป็น 3 ประเภท คือ
- ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ คือ สิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลต่าง ๆ หรือ สิ่งที่เราต้องการศึกษาทดลองดูว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผลเช่นนั้นจริงหรือไม่
- ตัวแปรตาม คือ สิ่งที่เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรต้น เมื่อตัวแปรต้นหรือ สิ่งเป็นสาเหตุเปลี่ยนไป ตัวแปรตามหรือสิ่งที่เป็นผลก็จะเปลี่ยนไปด้วย
- ตัวแปรที่ต้องควบคุม คือ สิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่จะมีผลต่อ การศึกษา ซึ่งจะต้องควบคุมให้เหมือนกัน มิเช่นนั้นแล้วอาจทำให้ผลการศึกษาคลาดเคลื่อน
7.5 ขอบเขตของการศึกษา
เป็นการบอกว่าจะศึกษาเรื่องใด ภายใต้เงื่อนไขอย่างไร เป็นระยะเวลานานเท่าใด
7.6 คำนิยามศัพท์เฉพาะ
เป็นการกำหนดความหมายและขอบเขตของคำต่าง ๆ ในสมมติฐานที่ต้องการศึกษา เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจตรงกัน ต้องสามารถตรวจสอบ สังเกตหรือวัดได้
7.7 สถานที่ทำการศึกษา
ถ้าเป็นโครงงานประเภททดลอง ให้เขียนบอกสถานที่ที่ดำเนินการทดลอง เช่น ห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวัดโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ถ้าเป็นโครงงานประเภทสำรวจ เช่น
บริเวณโรงเรียนวัดโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
7.8 ระยะเวลาที่ทำการศึกษา
ระบุวัน เดือน ปี ที่ทำการศึกษาตั้งแต่วันเริ่มต้น จนถึง วันสุดท้ายที่การศึกษาค้นคว้าสิ้นสุดลง
8. บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เป็นการศึกษาเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องอาจเป็นหลักการ ทฤษฎี หรืออ้างอิงตามหลักของสถาบันใดก็ได้ แต่ต้องใช้เป็นรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเอกสาร เช่น วิธีการศึกษาค้นคว้าที่สอดคล้องกับหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์ และต้องมีการเขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อหาที่กล่าวถึงเพื่อแสดงให้เห็นถึงแหล่งที่ค้นคว้ามา โดยจะใช้การอ้างอิงตามหลักของสถาบันใดก็ได้ แต่ต้องใช้เป็นรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเอกสาร เช่น
(ชื่อผู้แต่งและชื่อสกุล. ปีที่พิมพ์ : หน้าที่ใช้อ้างอิง)
สุบิน ณ อัมพร (2545 : 10 - 12) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ……………..
9. บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีดำเนินการทดลอง
9.1 วัสดุ อุปกรณ์
ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้มักจะประกอบไปด้วย เครื่องมือ เครื่องใช้ สารเคมี และสิ่งมีชีวิตที่ใช้ศึกษา วัสดุอุปกรณ์ประเภทเดียวกันควรเขียนเรียงลำดับตามกันไปจนครบ แล้วเขียนวัสดุอุปกรณ์ประเภทอื่นเรียงต่อกันไป
9.2 วิธีดำเนินการทดลอง/วิธีดำเนินการศึกษา
เป็นการเขียนอธิบายลำดับขั้นตอนของการศึกษาอย่างละเอียด
10. บทที่ 4 ผลการศึกษา
เป็นการนำเสนอข้อมูลที่สังเกต หรือจดบันทึกรวบรวมไว้จากการศึกษาค้นคว้า รวมทั้งเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่ได้มี 2 รูปแบบ คือ
- ข้อมูลเชิงปริมาณ อาจจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลในรูปของตารางหรือแผนภูมิก็ได้ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้โดยง่าย
- ข้อมูลเชิงคุณภาพ อาจเขียนในลักษณะข้อความบรรยายสั้น ๆ หรือมี ภาพประกอบข้อมูลด้วยก็ได้ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้โดยง่าย
11. บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ
11.1 สรุปผลการศึกษา
การสรุปผลการศึกษาควรยึดจุดมุ่งหมายของการศึกษาของเรื่องเป็นหลัก แล้วเขียนสรุปผลตามจุดมุ่งหมาย
ที่วางไว้
11.2 อภิปรายผลการศึกษา
การอภิปรายผล เป็นการอ้างอิงหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นศึกษาไว้แล้วว่า สัมพันธ์ สอดคล้อง
หรือขัดแย้งกับผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้อย่างไร
11.3 ข้อเสนอแนะ
เป็นการเสนอแนะสิ่งที่น่าจะศึกษาเพิ่มเติมต่อไป อย่างไร และการปรับปรุงแก้ไขซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ
ผู้ที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องลักษณะเดียวกันต่อไปในอนาคต
12. บรรณานุกรม
ก่อนถึงบรรณานุกรมควรมีหน้าบอกให้วางคำ “บรรณานุกรม” ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษและนับหน้านี้รวมกับหน้าอื่นด้วย โดยไม่ต้องใส่หมายเลขหน้ากำกับ บรรณานุกรมเป็นการเขียนชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือที่นำมาใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้า เรียงลำดับการเขียนตามลำดับ ตัวอักษรตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานโดยไม่ต้องใส่เลขลำดับรายการโดยมีวิธีการเขียนดังนี้
12.1 การเขียนบรรณานุกรมของหนังสือที่มีชื่อผู้แต่ง เช่น
ตัวอย่าง ผู้แต่ง 1 คน
(ชื่อ ชื่อสกุล. ชื่อหนังสือ. (ตัวหนา) ครั้งที่พิมพ์. (ถ้าพิมพ์ครั้งแรกไม่ต้องใส่ ครั้งที่พิมพ์) สำนักพิมพ์. ปีที่พิมพ์.
ธีระชัย ปูรณโชติ. คู่มือครู การสอนกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.
ตัวอย่าง ผู้แต่ง 2 คน
ให้ใช้คำว่า “และ” คั่นระหว่างชื่อผู้แต่งทั้ง 2 คน
วรรณทิพา รอดแรงค้า และพิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. การพัฒนาการคิดของครู
ด้วยกิจกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์ กรุ๊ปแมเนจเม้นท้, 2547.
ตัวอย่าง ผู้แต่ง 3 คน
ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างชื่อคนแรกและชื่อคนที่สอง ใช้คำว่า “และ” คั่นระหว่างชื่อผู้แต่งคนที่สองและคนที่สาม เช่น
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข และราเชน มีศรี. การพัฒนาการคิดของครูด้วยโครงงาน.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
ตัวอย่าง ผู้แต่งมากกว่า 3 คน
ให้เขียนชื่อผู้แต่งคนแรกและใช้คำว่า “และคณะ” ต่อจากชื่อคนแรก เช่น
สมบัติ การจนารักพงค์ และคณะ. เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 E.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
12.2 การเขียนบรรณานุกรมของหนังสือที่จัดทำขึ้นในนามของหน่วยงานต่างๆ
ให้ลงชื่อหน่วยงานนั้น ๆ ในตำแหน่งผู้แต่ง โดยลงหน่วยงานใหญ่แล้วตามด้วย หน่วยงานย่อย เช่น
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. คู่มือการทำและการจัดแสดง
โครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2531.
13. ภาคผนวก
ก่อนถึงภาคผนวก ควรมีหน้าบอก ให้วางคำ “ภาคผนวก” ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษและนับหน้านี้รวมกับหน้าอื่นด้วย โดยไม่ต้องใส่หมายเลขหน้ากำกับ ในส่วนของภาคผนวกนี้เป็นการนำส่วนที่บันทึกหรือข้อมูลที่ได้จากการศึกษาที่ต้องการแสดงเพิ่มเติม เช่น สูตรการคำนวณ สูตรอาหาร วิธีเตรียมสารเคมีที่ทำการศึกษา ข้อมูลดิบที่บันทึกไว้ซึ่งยังไม่ได้สรุป หรือยังไม่ได้จัดกระทำให้อยู่ในรูปกราฟ แผนภูมิ และตารางสรุป
เป็นต้น ฯลฯ
เมื่อดำเนินการทำโครงงานจนครบขั้นตอน ได้ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งแปลผลและสรุปผลแล้ว
งานที่ต้องทำต่อไปคือ เขียนรายงาน การเขียนรายงานก็เพื่อให้คนอื่น ๆ ได้เข้าใจถึงแนวคิด วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้าข้อมูล ผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ
การเขียนรายงาน ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กระชับ ชัดเจน สั้น ๆ ตรงไปตรงมาและครอบคลุมประเด็นสำคัญของโครงงานที่ได้ทำไปแล้ว โดยมีส่วนประกอบเรียงลำดับดังนี้
1. ปกนอก
1.1 ชื่อเรื่อง การตั้งชื่อเรื่องที่ดีนั้นควรมีลักษณะดังนี้
- ตรงกับเรื่องที่ศึกษา เมื่ออ่านแล้วสามารถบอกได้ว่าเรื่องที่ทำนั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งใด
- สั้นกระทัดรัด ชื่อโครงงานไม่ควรยาวเกินไป ควรตั้งให้สั้นกะทัดรัดและรัดกุมแต่ต้องได้ใจความตรงกับเรื่อง
- ไม่ควรเป็นประโยคคำถาม
- ใช้คำเร้าความสนใจ แต่ต้องไม่ทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไปจากเนื้อเรื่องของโครงงาน
1.2 ชื่อผู้ทำโครงงาน
1.3 ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
1.4 หน่วยงานที่สังกัด
2. ปกใน
ปกในจะมีรูปแบบเหมือนปกนอกทุกประการ
3. บทคัดย่อ
เขียนอธิบายวิธีการดำเนินการศึกษา ผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปอย่างย่อ ๆ ด้วยความเรียงติดต่อกันไป โดยทั่วไปนิยมเขียนไม่เกินหน้ากระดาษ
4. กิตติกรรมประกาศ
เป็นการกล่าวถึงหน่วยงาน หรือบุคคลที่มีส่วนทำให้โครงงานนี้ประสบความสำเร็จไม่ว่า จะเป็นการให้คำปรึกษา
คำแนะนำ การช่วยเหลือหรือให้การสนับสนุนด้านต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ ทุนสำหรับดำเนินการ ฯลฯ
5. คำนำ
เป็นการกล่าวถึงแนวคิด ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่ดำเนินการศึกษาค้นคว้า จุดมุ่งหมาย สมมติฐาน
และขอบข่ายอย่างย่อ ๆ อาจเขียนเป็น 2 – 3 ย่อหน้าก็ได้
6. สารบัญ
เป็นส่วนที่ระบุว่า ภายในเล่มรายงานโครงงานประกอบด้วยอะไรบ้าง ใช้รูปแบบการเขียนปริญญานิพนธ์ทั่วไป
โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน ตามลักษณะการนำเสนอข้อมูลและเรียงลำดับ ดังนี้
6.1 สารบัญเรื่อง
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
คำนำ
บทที่ 1 บทนำ
-ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
-จุดมุ่งหมายของการศึกษา
-สมมติฐานของการศึกษา
-ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
-ขอบเขตของการศึกษา
-คำนิยามศัพท์เฉพาะ
-สถานที่ทำการศึกษา
-ระยะเวลาในการศึกษา
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
-วัสดุ อุปกรณ์
-วิธีดำเนินการทดลอง
บทที่ 4 ผลการทดลอง
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
-สรุปผลการศึกษา
-อภิปรายผลการศึกษา
-ข้อเสนอแนะ
-บรรณานุกรม
-ภาคผนวก
6.2 สารบัญตาราง
การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง เป็นการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลที่ได้ทำการศึกษารูปแบบหนึ่ง
ส่วนใหญ่ใช้ในการบันทึกผลการศึกษา ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการค้นหาควรจัดทำสารบัญตาราง บอกลำดับที่
ชื่อ และหน้า ดังนี้
-สารบัญตาราง
-ตาราง หน้า
1 แสดงหรือศึกษา………………………………………
2 แสดงหรือศึกษา………………………………………
6.1 สารบัญภาพประกอบ
การถ่ายภาพประกอบ การเขียนแผนภูมิรูปแบบต่าง ๆ เป็นการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลที่ทำการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้กันแพร่หลาย การเลือกใช้รูปแบบการสื่อความหมายข้อมูลแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนั้น การจัดทำสารบัญภาพจึงเพิ่มความสะดวกในการค้นหาเช่นกัน โดยนับลำดับที่ของภาพประกอบ แยกออกจากลำดับที่ของตาราง ดังนี้
-สารบัญภาพประกอบ
-ภาพประกอบ หน้า
1 แสดง…………………………………………………
2 แผนภูมิแท่งแสดง……………………………………
7. บทที่ 1 บทนำ
7.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
อธิบายความสำคัญของโครงงาน เหตุผลที่เลือกทำโครงงานนี้ หลักการหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
เรื่องที่ทำ เป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นเคยศึกษาไว้บ้างแล้ว ถ้ามีได้ผลเป็นอย่างไร เรื่องที่ทำนี้ได้ขยายเพิ่มเติมหรือ
ปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นได้ทำไว้อย่างไรบ้าง
7.2 จุดมุ่งหมายของการศึกษา
ในบางครั้งอาจใช้คำว่า “วัตถุประสงค์ของการศึกษา” หรือถ้าเป็นโครงงานทดลองอาจใช้คำว่า “จุดมุ่งหมายของการทดลอง” ในการเขียนจะกล่าวถึงสิ่งที่ต้องการศึกษาหาคำตอบซึ่งมักนิยมเขียนในลักษณะความสัมพันธ์ระหว่าง
ตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
7.3 สมมติฐานของการศึกษา
สมมติฐานเป็นคำตอบหรืออธิบายที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าโดยยังไม่มีการทดสอบซึ่ง อาจจะถูกหรือไม่ถูกก็ได้ การเขียนสมมติฐานควรมีเหตุและมีผล มีทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์รองรับและที่สำคัญคือเป็นข้อความที่มองเห็น
แนวทางในการดำเนินการทดลองหรือสามารถทดสอบได้ ส่วนใหญ่การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์มีสมมติฐานของการศึกษา ยกเว้นโครงงานประเภทสำรวจ
7.4 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ได้แบ่งตัวแปรออกเป็น 3 ประเภท คือ
- ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ คือ สิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลต่าง ๆ หรือ สิ่งที่เราต้องการศึกษาทดลองดูว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผลเช่นนั้นจริงหรือไม่
- ตัวแปรตาม คือ สิ่งที่เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรต้น เมื่อตัวแปรต้นหรือ สิ่งเป็นสาเหตุเปลี่ยนไป ตัวแปรตามหรือสิ่งที่เป็นผลก็จะเปลี่ยนไปด้วย
- ตัวแปรที่ต้องควบคุม คือ สิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่จะมีผลต่อ การศึกษา ซึ่งจะต้องควบคุมให้เหมือนกัน มิเช่นนั้นแล้วอาจทำให้ผลการศึกษาคลาดเคลื่อน
7.5 ขอบเขตของการศึกษา
เป็นการบอกว่าจะศึกษาเรื่องใด ภายใต้เงื่อนไขอย่างไร เป็นระยะเวลานานเท่าใด
7.6 คำนิยามศัพท์เฉพาะ
เป็นการกำหนดความหมายและขอบเขตของคำต่าง ๆ ในสมมติฐานที่ต้องการศึกษา เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจตรงกัน ต้องสามารถตรวจสอบ สังเกตหรือวัดได้
7.7 สถานที่ทำการศึกษา
ถ้าเป็นโครงงานประเภททดลอง ให้เขียนบอกสถานที่ที่ดำเนินการทดลอง เช่น ห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวัดโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ถ้าเป็นโครงงานประเภทสำรวจ เช่น
บริเวณโรงเรียนวัดโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
7.8 ระยะเวลาที่ทำการศึกษา
ระบุวัน เดือน ปี ที่ทำการศึกษาตั้งแต่วันเริ่มต้น จนถึง วันสุดท้ายที่การศึกษาค้นคว้าสิ้นสุดลง
8. บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เป็นการศึกษาเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องอาจเป็นหลักการ ทฤษฎี หรืออ้างอิงตามหลักของสถาบันใดก็ได้ แต่ต้องใช้เป็นรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเอกสาร เช่น วิธีการศึกษาค้นคว้าที่สอดคล้องกับหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์ และต้องมีการเขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อหาที่กล่าวถึงเพื่อแสดงให้เห็นถึงแหล่งที่ค้นคว้ามา โดยจะใช้การอ้างอิงตามหลักของสถาบันใดก็ได้ แต่ต้องใช้เป็นรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเอกสาร เช่น
(ชื่อผู้แต่งและชื่อสกุล. ปีที่พิมพ์ : หน้าที่ใช้อ้างอิง)
สุบิน ณ อัมพร (2545 : 10 - 12) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ……………..
9. บทที่ 3 วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีดำเนินการทดลอง
9.1 วัสดุ อุปกรณ์
ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้มักจะประกอบไปด้วย เครื่องมือ เครื่องใช้ สารเคมี และสิ่งมีชีวิตที่ใช้ศึกษา วัสดุอุปกรณ์ประเภทเดียวกันควรเขียนเรียงลำดับตามกันไปจนครบ แล้วเขียนวัสดุอุปกรณ์ประเภทอื่นเรียงต่อกันไป
9.2 วิธีดำเนินการทดลอง/วิธีดำเนินการศึกษา
เป็นการเขียนอธิบายลำดับขั้นตอนของการศึกษาอย่างละเอียด
10. บทที่ 4 ผลการศึกษา
เป็นการนำเสนอข้อมูลที่สังเกต หรือจดบันทึกรวบรวมไว้จากการศึกษาค้นคว้า รวมทั้งเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่ได้มี 2 รูปแบบ คือ
- ข้อมูลเชิงปริมาณ อาจจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลในรูปของตารางหรือแผนภูมิก็ได้ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้โดยง่าย
- ข้อมูลเชิงคุณภาพ อาจเขียนในลักษณะข้อความบรรยายสั้น ๆ หรือมี ภาพประกอบข้อมูลด้วยก็ได้ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้โดยง่าย
11. บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ
11.1 สรุปผลการศึกษา
การสรุปผลการศึกษาควรยึดจุดมุ่งหมายของการศึกษาของเรื่องเป็นหลัก แล้วเขียนสรุปผลตามจุดมุ่งหมาย
ที่วางไว้
11.2 อภิปรายผลการศึกษา
การอภิปรายผล เป็นการอ้างอิงหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นศึกษาไว้แล้วว่า สัมพันธ์ สอดคล้อง
หรือขัดแย้งกับผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้อย่างไร
11.3 ข้อเสนอแนะ
เป็นการเสนอแนะสิ่งที่น่าจะศึกษาเพิ่มเติมต่อไป อย่างไร และการปรับปรุงแก้ไขซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ
ผู้ที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องลักษณะเดียวกันต่อไปในอนาคต
12. บรรณานุกรม
ก่อนถึงบรรณานุกรมควรมีหน้าบอกให้วางคำ “บรรณานุกรม” ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษและนับหน้านี้รวมกับหน้าอื่นด้วย โดยไม่ต้องใส่หมายเลขหน้ากำกับ บรรณานุกรมเป็นการเขียนชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือที่นำมาใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้า เรียงลำดับการเขียนตามลำดับ ตัวอักษรตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานโดยไม่ต้องใส่เลขลำดับรายการโดยมีวิธีการเขียนดังนี้
12.1 การเขียนบรรณานุกรมของหนังสือที่มีชื่อผู้แต่ง เช่น
ตัวอย่าง ผู้แต่ง 1 คน
(ชื่อ ชื่อสกุล. ชื่อหนังสือ. (ตัวหนา) ครั้งที่พิมพ์. (ถ้าพิมพ์ครั้งแรกไม่ต้องใส่ ครั้งที่พิมพ์) สำนักพิมพ์. ปีที่พิมพ์.
ธีระชัย ปูรณโชติ. คู่มือครู การสอนกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.
ตัวอย่าง ผู้แต่ง 2 คน
ให้ใช้คำว่า “และ” คั่นระหว่างชื่อผู้แต่งทั้ง 2 คน
วรรณทิพา รอดแรงค้า และพิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. การพัฒนาการคิดของครู
ด้วยกิจกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์ กรุ๊ปแมเนจเม้นท้, 2547.
ตัวอย่าง ผู้แต่ง 3 คน
ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างชื่อคนแรกและชื่อคนที่สอง ใช้คำว่า “และ” คั่นระหว่างชื่อผู้แต่งคนที่สองและคนที่สาม เช่น
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข และราเชน มีศรี. การพัฒนาการคิดของครูด้วยโครงงาน.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
ตัวอย่าง ผู้แต่งมากกว่า 3 คน
ให้เขียนชื่อผู้แต่งคนแรกและใช้คำว่า “และคณะ” ต่อจากชื่อคนแรก เช่น
สมบัติ การจนารักพงค์ และคณะ. เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 E.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
12.2 การเขียนบรรณานุกรมของหนังสือที่จัดทำขึ้นในนามของหน่วยงานต่างๆ
ให้ลงชื่อหน่วยงานนั้น ๆ ในตำแหน่งผู้แต่ง โดยลงหน่วยงานใหญ่แล้วตามด้วย หน่วยงานย่อย เช่น
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. คู่มือการทำและการจัดแสดง
โครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2531.
13. ภาคผนวก
ก่อนถึงภาคผนวก ควรมีหน้าบอก ให้วางคำ “ภาคผนวก” ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษและนับหน้านี้รวมกับหน้าอื่นด้วย โดยไม่ต้องใส่หมายเลขหน้ากำกับ ในส่วนของภาคผนวกนี้เป็นการนำส่วนที่บันทึกหรือข้อมูลที่ได้จากการศึกษาที่ต้องการแสดงเพิ่มเติม เช่น สูตรการคำนวณ สูตรอาหาร วิธีเตรียมสารเคมีที่ทำการศึกษา ข้อมูลดิบที่บันทึกไว้ซึ่งยังไม่ได้สรุป หรือยังไม่ได้จัดกระทำให้อยู่ในรูปกราฟ แผนภูมิ และตารางสรุป
เป็นต้น ฯลฯ
การลงมือทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ขั้นที่ 4 การลงมือทำโครงงาน
การลงมือทำโครงงานเป็นการลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในเค้าโครงย่อ ซึ่งควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
1. ตกลงแบ่งบทบาทและหน้าที่ของผู้ร่วมทำโครงงานของแต่ละบุคคล รวมทั้งการร่วมมือกันขณะดำเนินการศึกษา
2. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมก่อนลงมือทดลอง
3. มีสมุดสำหรับบันทึกกิจกรรมประจำวันว่าได้ทำอะไรลงไป ได้ผลอย่างไรมีปัญหาและข้อคิดเห็นอย่างไร
4. ปฏิบัติการทดลองด้วยความละเอียดรอบคอบ บันทึกข้อมูลไว้ให้เป็นระเบียบและครบถ้วน
5. คำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัยในการทำงาน
6. พยายามทำตามแผนงานที่วางไว้ในตอนแรก แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้บ้าง
หลังจากที่ได้เริ่มต้นทำงานไปแล้ว ถ้าคิดว่าจะทำให้ผลงานดีขึ้น
7. ควรปฏิบัติการทดลองซ้ำ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้มากขึ้น
8. ควรแบ่งงานเป็นส่วนย่อยและทำแต่ละส่วนให้สำเร็จก่อนทำส่วนอื่นต่อไป
9. ควรทำงานหลักที่เป็นสำคัญ ๆ ให้เสร็จก่อนแล้วจึงทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมที่ตกแต่งโครงงาน
10. อย่าทำงานต่อเนื่องจนเมื่อยล้า จะทำให้ขาดความระมัดระวัง
11. อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานควรให้คำปรึกษา แนะนำอย่างใกล้ชิดเมื่อมีอุปสรรคและปัญหาหรือเกิดข้อสงสัย
12. ถ้าเป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ควรคำนึงถึงความคงทน แข็งแรง และขนาดที่เหมาะสมของสิ่งประดิษฐ์นั้น
การลงมือทำโครงงานเป็นการลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในเค้าโครงย่อ ซึ่งควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
1. ตกลงแบ่งบทบาทและหน้าที่ของผู้ร่วมทำโครงงานของแต่ละบุคคล รวมทั้งการร่วมมือกันขณะดำเนินการศึกษา
2. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมก่อนลงมือทดลอง
3. มีสมุดสำหรับบันทึกกิจกรรมประจำวันว่าได้ทำอะไรลงไป ได้ผลอย่างไรมีปัญหาและข้อคิดเห็นอย่างไร
4. ปฏิบัติการทดลองด้วยความละเอียดรอบคอบ บันทึกข้อมูลไว้ให้เป็นระเบียบและครบถ้วน
5. คำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัยในการทำงาน
6. พยายามทำตามแผนงานที่วางไว้ในตอนแรก แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้บ้าง
หลังจากที่ได้เริ่มต้นทำงานไปแล้ว ถ้าคิดว่าจะทำให้ผลงานดีขึ้น
7. ควรปฏิบัติการทดลองซ้ำ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้มากขึ้น
8. ควรแบ่งงานเป็นส่วนย่อยและทำแต่ละส่วนให้สำเร็จก่อนทำส่วนอื่นต่อไป
9. ควรทำงานหลักที่เป็นสำคัญ ๆ ให้เสร็จก่อนแล้วจึงทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมที่ตกแต่งโครงงาน
10. อย่าทำงานต่อเนื่องจนเมื่อยล้า จะทำให้ขาดความระมัดระวัง
11. อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานควรให้คำปรึกษา แนะนำอย่างใกล้ชิดเมื่อมีอุปสรรคและปัญหาหรือเกิดข้อสงสัย
12. ถ้าเป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ควรคำนึงถึงความคงทน แข็งแรง และขนาดที่เหมาะสมของสิ่งประดิษฐ์นั้น
Wednesday, June 6, 2007
การเขียนเค้าโครงย่อของโครงงานวิทยาศาสตร์
ขั้นที่ 3 การเขียนเค้าโครงย่อของโครงงาน
การเขียนเค้าโครงย่อของโครงงานโดยทั่ว ๆ ไป จะเขียนขึ้นเพื่อแสดงแนวความคิด แผนงาน และขั้นตอนของการทำโครงงานนั้น ซึ่งควรประกอบด้วยองค์ประกอบและรูปแบบดังต่อไปนี้
1. ชื่อโครงงาน……………………………………………………………………………………….
(ควรให้กะทัดรัด ชี้ชัดในเรื่องที่จะทำ ว่าทำอะไร กับใคร อย่างไร)
2. ชื่อผู้ทำโครงงาน (โดยทั่วไปจะให้ทำเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2 – 3 คน)
1…………………………………………ชั้น………………………………..
2…………………………………………ชั้น………………………………..
3…………………………………………ชั้น………………………………..
โรงเรียน…………………………อำเภอ……………………จังหวัด………………...
3. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
1……………………………………………………………………………..
2……………………………………………………………………………..
(ครู/อาจารย์/ผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่น/ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาควบคุมการทำโครงงาน)
4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
(แนวคิด และที่มาของการทำโครงงานเรื่องนี้)
5. จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
1……………………………………………………………………………..
2……………………………………………………………………………..
(สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทำโครงงาน)
6. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
1……………………………………………………………………………..
2……………………………………………………………………………..
(ถ้ามี กรณีเป็นโครงงานประเภททดลอง)
7. ตัวแปรที่ต้องศึกษา
1. ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ……………………………………………...
2. ตัวแปรตาม………………………………………………………………
3. ตัวแปรที่ต้องควบคุม…………………………………………………….
(ถ้ามี กรณีเป็นโครงงานประเภททดลอง)
8. วิธีการดำเนินงาน
1. อุปกรณ์และสารเคมี
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
2. วิธีการทดลอง/ขั้นตอนการทำงาน
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
9. แผนปฏิบัติงาน
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
(ระยะเวลาในการดำเนินงาน)
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1……………………………………………………………………………..
2……………………………………………………………………………..
(ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น)
11. เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
(เอกสาร ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน)
การเขียนเค้าโครงย่อของโครงงานโดยทั่ว ๆ ไป จะเขียนขึ้นเพื่อแสดงแนวความคิด แผนงาน และขั้นตอนของการทำโครงงานนั้น ซึ่งควรประกอบด้วยองค์ประกอบและรูปแบบดังต่อไปนี้
1. ชื่อโครงงาน……………………………………………………………………………………….
(ควรให้กะทัดรัด ชี้ชัดในเรื่องที่จะทำ ว่าทำอะไร กับใคร อย่างไร)
2. ชื่อผู้ทำโครงงาน (โดยทั่วไปจะให้ทำเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2 – 3 คน)
1…………………………………………ชั้น………………………………..
2…………………………………………ชั้น………………………………..
3…………………………………………ชั้น………………………………..
โรงเรียน…………………………อำเภอ……………………จังหวัด………………...
3. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
1……………………………………………………………………………..
2……………………………………………………………………………..
(ครู/อาจารย์/ผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่น/ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาควบคุมการทำโครงงาน)
4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
(แนวคิด และที่มาของการทำโครงงานเรื่องนี้)
5. จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
1……………………………………………………………………………..
2……………………………………………………………………………..
(สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทำโครงงาน)
6. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
1……………………………………………………………………………..
2……………………………………………………………………………..
(ถ้ามี กรณีเป็นโครงงานประเภททดลอง)
7. ตัวแปรที่ต้องศึกษา
1. ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ……………………………………………...
2. ตัวแปรตาม………………………………………………………………
3. ตัวแปรที่ต้องควบคุม…………………………………………………….
(ถ้ามี กรณีเป็นโครงงานประเภททดลอง)
8. วิธีการดำเนินงาน
1. อุปกรณ์และสารเคมี
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
2. วิธีการทดลอง/ขั้นตอนการทำงาน
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
9. แผนปฏิบัติงาน
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
(ระยะเวลาในการดำเนินงาน)
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1……………………………………………………………………………..
2……………………………………………………………………………..
(ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น)
11. เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………….
(เอกสาร ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน)
Tuesday, June 5, 2007
การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ขั้นที่ 2 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องก็เพื่อจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องที่จะทำการศึกษาซึ่งจะช่วยให้โครงงานประสบผลสำเร็จได้มากขึ้น ในขั้นตอนนี้จะรวมไปถึงการขอคำปรึกษา การสอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้อง และยังรวมไปถึงการสำรวจวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำโครงงานด้วย
การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องนี้มีความจำเป็นที่ผู้จัดทำโครงงานต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ห้อง การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจจะต้องขอคำแนะนำเทคนิคและวิธีการต่างๆ ในการค้นคว้าเอกสารจากห้องสมุดจากบรรณารักษ์ห้องสมุดหรือผู้รู้ ตลอดจนการค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
การเขียนเอกสารที่เกี่ยวข้องนี้เป็นการอ้างอิงเนื้อหาต่าง ๆ ที่เราเอามาเขียนในโครงงานที่จำทำเป็นการบอกแหล่งที่มาของข้อมูล ที่เรานำมาเขียนไว้ในโครงงานว่าเรานำข้อความจากหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ใด ตลอดจนจากอินเตอร์เน็ต Web Site ใด โดยจะเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จัดทำโครงงาน เนื้อหาของเอกสารจะเป็นเรื่องที่ตรงกับตัวแปรต้น และตัวแปรตามในเรื่องที่นักเรียนทำ ซึ่งอาจได้มาจากการศึกษาค้นคว้าจากตำรา เอกสาร หนังสือต่าง ๆ จากผู้รู้ ฯลฯ โดยบอกว่าเรื่องที่ทำนี้เป็นเรื่องใหม่ หรือมีผู้อื่นได้ศึกษาไว้บ้างแล้วถ้ามีได้ผลเป็นอย่างไรโดยให้นักเรียนเขียนเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ แต่ถ้าหากเนื้อหาส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวกับการทำโครงงานก็ไม่ต้องนำมาเขียน
เมื่อนำข้อความหรือเนื้อหาในเอกสารใด ๆ มาเขียนให้นักเรียนจัดทำบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิงไว้ด้วย (ศึกษาเอกสารวิธีเขียนเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม ใน หน้า 34 - 37)
เพื่อจะได้นำไปเขียนในส่วนของเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม ในส่วนท้ายของรายงานต่อไป
ตัวอย่าง โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง “สเปรย์...ใบเตย”
การจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้เป็นโครงงานประเภททดลอง
เรื่อง “สเปรย์...ใบเตย” ซึ่งทางคณะผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสาร หนังสือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ต่าง ๆ ดังนี้
ใบเตย (เตยหอม) ลักษณะทั่วไปเป็นพืชที่ขึ้นรวมเป็นกอ ลำต้นกลมต่อ
เป็นข้อ ๆ โคนมีรากงอกเพื่อยึดลำต้น เรียงเป็นวงรอบลำต้น ใบมีสีเขียว เรียวยาว
ปลายใบแหลม ชอบขึ้นในที่มีน้ำชื้นแฉะ ลำต้นมีความสูงประมาณ 2-3 ฟุต
ใบเตย ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา คือ ใบ ใบเตยประกอบไปด้วย น้ำมันหอมระเหย
ประกอบไปด้วยสารหลายชนิด เช่น ไลนา ลิลอะซีเตท (Linalyl acetate) , เบนซิล อะซิเตท
(Benzyl acetate) ,ไลนาโลออท (Linalooi) และเจอรานิออล (Geranilol)
รากของใบเตย ใช้ทำเป็นยาเพื่อขับปัสสาวะและรักษาโรคเบาหวาน
แอลกอฮอล์ (Alcohol) เป็นสารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นของเหลวใส
มีกลิ่นฉุน ระเหยง่าย มีจุดเดือด 78.5 องศาเซลเซียส มีชื่อเต็ม คือ เอทิลแอลกอฮอล์
(Athylacohol) แต่มักเรียกสั้น ๆ ว่า “แอลกอฮอล์”
การผลิตแอลกอฮอล์มีการผลิตมาเป็นเวลาช้านาน ตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษ และ
ผลผลิตของแอลกอฮอล์ก็นำมาใช้เป็นเครื่องดื่ม และในการปรุงอาหาร โดยปกติแอลกอฮอล์
จะเกิดขึ้นจากการหมักผลไม้ ได้แก่ การผลิตไวน์ การหมักสารประเภทแป้งหรือน้ำตาลผสม
ยีสต์ ซึ่งมักเรียกกันว่า แป้งเชื้อ หรือ เชื้อหมัก เป็นองค์ประกอบสำคัญของสุราทุกชนิด
ทั้งนี้ แล้วแต่วัตถุประสงค์ของผู้ผลิตที่จะนำไปใช้ ถือเป็นการนำเอาผลไม้หรือส่วนต่าง ๆ
ของพืชเป็นหลัก อีกทั้งผ่านกระบวนการหมักเพื่อให้ได้แอลกอฮอล์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน
แอลกอฮอล์ที่ผลิตจากพืช เป็นแอลกอฮอล์ที่ใช้ดื่มได้ ส่วนแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากวัตถุดิบ
อื่น ๆ เป็นแอลกอฮอล์ที่ดื่มไม่ได้ นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์โดย
นำมาเป็นตัวทำละลาย ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค และใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เป็นต้น
การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องก็เพื่อจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องที่จะทำการศึกษาซึ่งจะช่วยให้โครงงานประสบผลสำเร็จได้มากขึ้น ในขั้นตอนนี้จะรวมไปถึงการขอคำปรึกษา การสอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้อง และยังรวมไปถึงการสำรวจวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำโครงงานด้วย
การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องนี้มีความจำเป็นที่ผู้จัดทำโครงงานต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ห้อง การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจจะต้องขอคำแนะนำเทคนิคและวิธีการต่างๆ ในการค้นคว้าเอกสารจากห้องสมุดจากบรรณารักษ์ห้องสมุดหรือผู้รู้ ตลอดจนการค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
การเขียนเอกสารที่เกี่ยวข้องนี้เป็นการอ้างอิงเนื้อหาต่าง ๆ ที่เราเอามาเขียนในโครงงานที่จำทำเป็นการบอกแหล่งที่มาของข้อมูล ที่เรานำมาเขียนไว้ในโครงงานว่าเรานำข้อความจากหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ใด ตลอดจนจากอินเตอร์เน็ต Web Site ใด โดยจะเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จัดทำโครงงาน เนื้อหาของเอกสารจะเป็นเรื่องที่ตรงกับตัวแปรต้น และตัวแปรตามในเรื่องที่นักเรียนทำ ซึ่งอาจได้มาจากการศึกษาค้นคว้าจากตำรา เอกสาร หนังสือต่าง ๆ จากผู้รู้ ฯลฯ โดยบอกว่าเรื่องที่ทำนี้เป็นเรื่องใหม่ หรือมีผู้อื่นได้ศึกษาไว้บ้างแล้วถ้ามีได้ผลเป็นอย่างไรโดยให้นักเรียนเขียนเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ แต่ถ้าหากเนื้อหาส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวกับการทำโครงงานก็ไม่ต้องนำมาเขียน
เมื่อนำข้อความหรือเนื้อหาในเอกสารใด ๆ มาเขียนให้นักเรียนจัดทำบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิงไว้ด้วย (ศึกษาเอกสารวิธีเขียนเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม ใน หน้า 34 - 37)
เพื่อจะได้นำไปเขียนในส่วนของเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม ในส่วนท้ายของรายงานต่อไป
ตัวอย่าง โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง “สเปรย์...ใบเตย”
การจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้เป็นโครงงานประเภททดลอง
เรื่อง “สเปรย์...ใบเตย” ซึ่งทางคณะผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสาร หนังสือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ต่าง ๆ ดังนี้
ใบเตย (เตยหอม) ลักษณะทั่วไปเป็นพืชที่ขึ้นรวมเป็นกอ ลำต้นกลมต่อ
เป็นข้อ ๆ โคนมีรากงอกเพื่อยึดลำต้น เรียงเป็นวงรอบลำต้น ใบมีสีเขียว เรียวยาว
ปลายใบแหลม ชอบขึ้นในที่มีน้ำชื้นแฉะ ลำต้นมีความสูงประมาณ 2-3 ฟุต
ใบเตย ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา คือ ใบ ใบเตยประกอบไปด้วย น้ำมันหอมระเหย
ประกอบไปด้วยสารหลายชนิด เช่น ไลนา ลิลอะซีเตท (Linalyl acetate) , เบนซิล อะซิเตท
(Benzyl acetate) ,ไลนาโลออท (Linalooi) และเจอรานิออล (Geranilol)
รากของใบเตย ใช้ทำเป็นยาเพื่อขับปัสสาวะและรักษาโรคเบาหวาน
แอลกอฮอล์ (Alcohol) เป็นสารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นของเหลวใส
มีกลิ่นฉุน ระเหยง่าย มีจุดเดือด 78.5 องศาเซลเซียส มีชื่อเต็ม คือ เอทิลแอลกอฮอล์
(Athylacohol) แต่มักเรียกสั้น ๆ ว่า “แอลกอฮอล์”
การผลิตแอลกอฮอล์มีการผลิตมาเป็นเวลาช้านาน ตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษ และ
ผลผลิตของแอลกอฮอล์ก็นำมาใช้เป็นเครื่องดื่ม และในการปรุงอาหาร โดยปกติแอลกอฮอล์
จะเกิดขึ้นจากการหมักผลไม้ ได้แก่ การผลิตไวน์ การหมักสารประเภทแป้งหรือน้ำตาลผสม
ยีสต์ ซึ่งมักเรียกกันว่า แป้งเชื้อ หรือ เชื้อหมัก เป็นองค์ประกอบสำคัญของสุราทุกชนิด
ทั้งนี้ แล้วแต่วัตถุประสงค์ของผู้ผลิตที่จะนำไปใช้ ถือเป็นการนำเอาผลไม้หรือส่วนต่าง ๆ
ของพืชเป็นหลัก อีกทั้งผ่านกระบวนการหมักเพื่อให้ได้แอลกอฮอล์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน
แอลกอฮอล์ที่ผลิตจากพืช เป็นแอลกอฮอล์ที่ใช้ดื่มได้ ส่วนแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากวัตถุดิบ
อื่น ๆ เป็นแอลกอฮอล์ที่ดื่มไม่ได้ นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์โดย
นำมาเป็นตัวทำละลาย ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค และใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เป็นต้น
การคิดหรือเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน
ขั้นที่ 1 การคิดหรือเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน
การคิดหรือเลือกหัวข้อเรื่องของโครงงาน เป็นขั้นที่สำคัญที่สุดของการทำโครงงาน
ควรเป็นไปตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และความต้องการของตนเอง โดยทั่วไปหัวข้อเรื่องของโครงงานมักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่ประสบในชีวิตประจำวัน
การเลือกหัวข้อเรื่องในการทำโครงงาน มาจากแหล่งต่าง ๆ พอสรุปได้ดังนี้
1. จากการอ่านงานวิชาการต่าง ๆ เช่น ตำรา หนังสือพิมพ์ วารสาร งานวิจัย บทความหรือเอกสารต่าง ๆ
ตัวอย่าง
จากการอ่านหนังสือพิมพ์ พบว่า มะนาวกับมะกรูดเป็น
พืชที่มีความใกล้ชิดกันสามารถนำมะนาวมาเสียบยอดบนต้นมะกรูดได้
ก็อาจจะทำให้นักเรียนนำวิธีการดังกล่าวไปใช้กับต้นไม้อื่น ๆ ที่มี
ความใกล้ชิดกันและอาจนำมาเสียบยอดกันได้ เช่น ต้นชบากับ
กระเจี๊ยบขาวอยู่ในตระกูลเดียวกัน หรือต้นมะลิลาอยู่ในตระกูล
เดียวกับต้นพุด นักเรียนก็เลยคิดทำโครงงานเรื่อง “การเสียบยอด
กระเจี๊ยบขาวบนต้นชะบา” หรือ “การเสียบยอดมะลิลาบนต้นพุด”
2. จากการฟังบรรยายทางวิชาการ การฟังและชมรายการทางวิทยุ โทรทัศน์
ตัวอย่าง
เรื่องเกี่ยวกับพืช อาจคิดเรื่องที่จะทำโครงงานที่เกี่ยวกับ เช่น
- การนำโฟมมาใช้ในการปักชำพืช
- การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
- การสกัดสีผสมอาหารจากพืช
- การสำรวจพืชสมุนไพรในท้องถิ่น
- ปุ๋ยสูตรพิเศษสำหรับการเจริญเติบโตของพืช
ตัวอย่าง
เรื่องเกี่ยวกับปลา อาจคิดเรื่องที่จะทำโครงงานเกี่ยวกับ เช่น
- การสำรวจและจำแนกชนิดของปลาน้ำจืด
- การใช้สมุนไพรบางชนิดแปลงเพศปลา
- การศึกษาพฤติกรรมผสมพันธุ์และการออกไข่ของปลา
- สูตรอาหารเลี้ยงปลา
- เครื่องให้ออกซิเจนแบบประหยัดสำหรับตู้ปลา
- ที่กรองเศษอาหารสำหรับตู้ปลาแบบประหยัด
- วิธีการเพาะเลี้ยงปลาให้ได้ลูกเป็นจำนวนมาก
2. จากกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน
ตัวอย่าง
ครูเคยสอนให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทดสอบปริมาณวิตามินซี
มาแล้วในบทเรียน ก็อาจนำความรู้เกี่ยวกับวิธีการทดสอบปริมาณ
วิตามินซีไปกำหนดเป็นหัวข้อโครงงานได้ เช่น
- การเปรียบเทียบวิตามินซีของผลไม้ชนิดต่าง ๆ
- กรรมวิธีในการรักษาคุณค่าของวิตามินซีในผัก ผลไม้ชนิดต่างๆ
3. จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน ก็สามารถนำมาทำโครงงานได้
ตัวอย่าง
- การใช้ใบพลูแก้ลมพิษ
- การใช้สีจากพืชย้อมผ้า
- การใช้ใบสาบเสือห้ามเลือด
- การสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวิทยาศาสตร์
- การสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรม
- สูตรการทำบั้งไฟ
4. จากการสังเกตปรากฏการณ์สิ่งแวดล้อมรอบตัว
ตัวอย่าง
บ้าน/โรงเรียนอยู่ใกล้แหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ก็อาจทำโครงงาน
เกี่ยวกับ
- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติหรือความเป็นมาของโบราณสถาน
โบราณวัตถุ
ตัวอย่าง
จังหวัดนครนายกเป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็อาจทำโครงงานเกี่ยวกับ - การสำรวจแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก
- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติหรือความเป็นมาของ
แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก
ตัวอย่าง
จังหวัดนครนายก มีการปลูกมะยงชิด มะปรางหวาน ก็อาจทำโครงงาน
เกี่ยวกับ
- วิธีการปลูกมะยงชิดให้ผลโตเท่าไข่ไก่และมีรสหวาน
- การประยุกต์วิธีการตอน การทาบกิ่งมะยงชิดให้ได้ผลเร็ว
- ปุ๋ยสูตรพิเศษสำหรับการเจริญเติบโตของมะยงชิด
5. จากการศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มีผู้อื่นทำไว้แล้ว
ตัวอย่าง
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนเพศปลาหางนกยูงโดยใช้ไรแดง
อาจจะประยุกต์วิธีการดังกล่าวมาใช้เปลี่ยนเพศปลาชนิดอื่น ๆ เช่น
- การแปลงเพศปลานิล
- การแปลงเพศปลากัด
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย อาจดัดแปลงมาเป็น
โครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น
- การศึกษาเกี่ยวกับสูตรอาหารเลี้ยงผึ้ง
- ดอกไม้เทียมเลี้ยงผึ้ง
- พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของผึ้ง
6. จากการสนทนากับครู อาจารย์ เพื่อน หรือบุคคลอื่น
ตัวอย่าง
การสนทนาเกี่ยวกับไก่ อาจคิดมาเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น
- สูตรอาหารเสริมพิเศษสำหรับไข่ไก่
- เครื่องเพาะฟักไข่ไก่แบบประหยัด
- การนำขนไก่มาทำเป็นอาหารเสริมเลี้ยงสัตว์
- สูตรอาหารเพาะเลี้ยงไส้เดือนจากมูลไก่
- วิธีการฟักไข่ไก่ที่ร้าวให้เป็นตัว
- การศึกษาพฤติกรรมก้าวร้าวในไก่พื้นเมือง
- ผลของฮอร์โมนเพศกับไก่
- การใช้สมุนไพรในการเลี้ยงไก่
- การศึกษาประวัติไก่ชน
6. จากงานที่เป็นอาชีพในท้องถิ่น
ตัวอย่าง
ถ้าชาวบ้านในท้องถิ่นมีอาชีพในการปลูกต้นตาลและทำน้ำตาลโตนดขาย
อาจคิดมาเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น
- การทำน้ำตาลผงสูตรพิเศษในการทำขนมตาลให้ฟู
- กรรมวิธีในการเก็บรักษาน้ำตาลไม่ให้บูดเสีย
- วิธีการเก็บรักษาน้ำตาลปึกค้างปีไม่ให้มีสีดำ
- เทคนิคการเพาะต้นตาล
- การทำกระดาษจากส่วนต่าง ๆ ของตาล
- วิธีการกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูของต้นตาล
ถ้าชาวบ้านในท้องถิ่นมีอาชีพในการทำขนมไทยขาย อาจคิดมาเป็น
โครงงาน เช่น
- ศึกษาเกี่ยวกับชนิดของขนมไทย
- ขนมไทยในวรรณคดี
- ขนมไทยตามกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
- สีผสมขนมไทยจากพืชท้องถิ่น
- ประวัติขนมไทย
หลังจากเลือกหัวเรื่องที่จะทำโครงงานได้แล้วว่าจะศึกษาสิ่งใด สิ่งที่ควรทำต่อไปคือ
การตั้งชื่อโครงงาน ซึ่งชื่อเรื่องของโครงงานจะเป็นสิ่งที่จะชี้ให้ผู้อื่นเข้าใจปัญหา วิธีการศึกษาของโครงงานนั้น ซึ่งชื่อเรื่องที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. ตั้งชื่อเรื่องให้ตรงกับเรื่องที่ศึกษา ซึ่งเมื่ออ่านชื่อเรื่องแล้วทำให้สามารถบอกได้ว่า
เรื่องนั้นมีลักษณะวิธีการศึกษาอย่างไร เช่น
- การฟักไข่ร้าวให้เป็นตัวด้วยกาวบางชนิด
- การสำรวจพืชสมุนไพรในท้องถิ่น
- การทำกระดาษจากกาบกล้วย
2. ตั้งชื่อเรื่องให้กะทัดรัดได้ใจความสมบูรณ์ สื่อความหมายตรงเข้าใจง่ายรัดกุม เช่น
- การทำชะอมแตกยอดนอกฤดู
- การชะลอการบูดของอาหารด้วยขิง
- การใช้ยาแอสไพรินชะลอการเหี่ยวของดอกกุหลาบ
3. ควรมีการเร้าความสนใจ แต่ต้องไม่ตั้งชื่อให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเกินความเป็นจริง เช่น
- การเปลี่ยนเพศปลาหางนกยูงด้วยไรแดง
- การเสียบยอดมะกอกฝรั่งแคระบนตอปักชำมะกอกบ้าน
- เครื่องพ่นยาอัตโนมัติแบบประหยัด
- การทำให้ชบาออกฝักเป็นกระเจี๊ยบเขียว
- การใช้เมล็ดโฟมป้องกันหนอนผีเสื้อกินใบส้ม
การคิดหรือเลือกหัวข้อเรื่องของโครงงาน เป็นขั้นที่สำคัญที่สุดของการทำโครงงาน
ควรเป็นไปตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และความต้องการของตนเอง โดยทั่วไปหัวข้อเรื่องของโครงงานมักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่ประสบในชีวิตประจำวัน
การเลือกหัวข้อเรื่องในการทำโครงงาน มาจากแหล่งต่าง ๆ พอสรุปได้ดังนี้
1. จากการอ่านงานวิชาการต่าง ๆ เช่น ตำรา หนังสือพิมพ์ วารสาร งานวิจัย บทความหรือเอกสารต่าง ๆ
ตัวอย่าง
จากการอ่านหนังสือพิมพ์ พบว่า มะนาวกับมะกรูดเป็น
พืชที่มีความใกล้ชิดกันสามารถนำมะนาวมาเสียบยอดบนต้นมะกรูดได้
ก็อาจจะทำให้นักเรียนนำวิธีการดังกล่าวไปใช้กับต้นไม้อื่น ๆ ที่มี
ความใกล้ชิดกันและอาจนำมาเสียบยอดกันได้ เช่น ต้นชบากับ
กระเจี๊ยบขาวอยู่ในตระกูลเดียวกัน หรือต้นมะลิลาอยู่ในตระกูล
เดียวกับต้นพุด นักเรียนก็เลยคิดทำโครงงานเรื่อง “การเสียบยอด
กระเจี๊ยบขาวบนต้นชะบา” หรือ “การเสียบยอดมะลิลาบนต้นพุด”
2. จากการฟังบรรยายทางวิชาการ การฟังและชมรายการทางวิทยุ โทรทัศน์
ตัวอย่าง
เรื่องเกี่ยวกับพืช อาจคิดเรื่องที่จะทำโครงงานที่เกี่ยวกับ เช่น
- การนำโฟมมาใช้ในการปักชำพืช
- การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
- การสกัดสีผสมอาหารจากพืช
- การสำรวจพืชสมุนไพรในท้องถิ่น
- ปุ๋ยสูตรพิเศษสำหรับการเจริญเติบโตของพืช
ตัวอย่าง
เรื่องเกี่ยวกับปลา อาจคิดเรื่องที่จะทำโครงงานเกี่ยวกับ เช่น
- การสำรวจและจำแนกชนิดของปลาน้ำจืด
- การใช้สมุนไพรบางชนิดแปลงเพศปลา
- การศึกษาพฤติกรรมผสมพันธุ์และการออกไข่ของปลา
- สูตรอาหารเลี้ยงปลา
- เครื่องให้ออกซิเจนแบบประหยัดสำหรับตู้ปลา
- ที่กรองเศษอาหารสำหรับตู้ปลาแบบประหยัด
- วิธีการเพาะเลี้ยงปลาให้ได้ลูกเป็นจำนวนมาก
2. จากกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน
ตัวอย่าง
ครูเคยสอนให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทดสอบปริมาณวิตามินซี
มาแล้วในบทเรียน ก็อาจนำความรู้เกี่ยวกับวิธีการทดสอบปริมาณ
วิตามินซีไปกำหนดเป็นหัวข้อโครงงานได้ เช่น
- การเปรียบเทียบวิตามินซีของผลไม้ชนิดต่าง ๆ
- กรรมวิธีในการรักษาคุณค่าของวิตามินซีในผัก ผลไม้ชนิดต่างๆ
3. จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน ก็สามารถนำมาทำโครงงานได้
ตัวอย่าง
- การใช้ใบพลูแก้ลมพิษ
- การใช้สีจากพืชย้อมผ้า
- การใช้ใบสาบเสือห้ามเลือด
- การสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวิทยาศาสตร์
- การสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรม
- สูตรการทำบั้งไฟ
4. จากการสังเกตปรากฏการณ์สิ่งแวดล้อมรอบตัว
ตัวอย่าง
บ้าน/โรงเรียนอยู่ใกล้แหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ก็อาจทำโครงงาน
เกี่ยวกับ
- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติหรือความเป็นมาของโบราณสถาน
โบราณวัตถุ
ตัวอย่าง
จังหวัดนครนายกเป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็อาจทำโครงงานเกี่ยวกับ - การสำรวจแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก
- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติหรือความเป็นมาของ
แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก
ตัวอย่าง
จังหวัดนครนายก มีการปลูกมะยงชิด มะปรางหวาน ก็อาจทำโครงงาน
เกี่ยวกับ
- วิธีการปลูกมะยงชิดให้ผลโตเท่าไข่ไก่และมีรสหวาน
- การประยุกต์วิธีการตอน การทาบกิ่งมะยงชิดให้ได้ผลเร็ว
- ปุ๋ยสูตรพิเศษสำหรับการเจริญเติบโตของมะยงชิด
5. จากการศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มีผู้อื่นทำไว้แล้ว
ตัวอย่าง
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนเพศปลาหางนกยูงโดยใช้ไรแดง
อาจจะประยุกต์วิธีการดังกล่าวมาใช้เปลี่ยนเพศปลาชนิดอื่น ๆ เช่น
- การแปลงเพศปลานิล
- การแปลงเพศปลากัด
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย อาจดัดแปลงมาเป็น
โครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น
- การศึกษาเกี่ยวกับสูตรอาหารเลี้ยงผึ้ง
- ดอกไม้เทียมเลี้ยงผึ้ง
- พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของผึ้ง
6. จากการสนทนากับครู อาจารย์ เพื่อน หรือบุคคลอื่น
ตัวอย่าง
การสนทนาเกี่ยวกับไก่ อาจคิดมาเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น
- สูตรอาหารเสริมพิเศษสำหรับไข่ไก่
- เครื่องเพาะฟักไข่ไก่แบบประหยัด
- การนำขนไก่มาทำเป็นอาหารเสริมเลี้ยงสัตว์
- สูตรอาหารเพาะเลี้ยงไส้เดือนจากมูลไก่
- วิธีการฟักไข่ไก่ที่ร้าวให้เป็นตัว
- การศึกษาพฤติกรรมก้าวร้าวในไก่พื้นเมือง
- ผลของฮอร์โมนเพศกับไก่
- การใช้สมุนไพรในการเลี้ยงไก่
- การศึกษาประวัติไก่ชน
6. จากงานที่เป็นอาชีพในท้องถิ่น
ตัวอย่าง
ถ้าชาวบ้านในท้องถิ่นมีอาชีพในการปลูกต้นตาลและทำน้ำตาลโตนดขาย
อาจคิดมาเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น
- การทำน้ำตาลผงสูตรพิเศษในการทำขนมตาลให้ฟู
- กรรมวิธีในการเก็บรักษาน้ำตาลไม่ให้บูดเสีย
- วิธีการเก็บรักษาน้ำตาลปึกค้างปีไม่ให้มีสีดำ
- เทคนิคการเพาะต้นตาล
- การทำกระดาษจากส่วนต่าง ๆ ของตาล
- วิธีการกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูของต้นตาล
ถ้าชาวบ้านในท้องถิ่นมีอาชีพในการทำขนมไทยขาย อาจคิดมาเป็น
โครงงาน เช่น
- ศึกษาเกี่ยวกับชนิดของขนมไทย
- ขนมไทยในวรรณคดี
- ขนมไทยตามกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
- สีผสมขนมไทยจากพืชท้องถิ่น
- ประวัติขนมไทย
หลังจากเลือกหัวเรื่องที่จะทำโครงงานได้แล้วว่าจะศึกษาสิ่งใด สิ่งที่ควรทำต่อไปคือ
การตั้งชื่อโครงงาน ซึ่งชื่อเรื่องของโครงงานจะเป็นสิ่งที่จะชี้ให้ผู้อื่นเข้าใจปัญหา วิธีการศึกษาของโครงงานนั้น ซึ่งชื่อเรื่องที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. ตั้งชื่อเรื่องให้ตรงกับเรื่องที่ศึกษา ซึ่งเมื่ออ่านชื่อเรื่องแล้วทำให้สามารถบอกได้ว่า
เรื่องนั้นมีลักษณะวิธีการศึกษาอย่างไร เช่น
- การฟักไข่ร้าวให้เป็นตัวด้วยกาวบางชนิด
- การสำรวจพืชสมุนไพรในท้องถิ่น
- การทำกระดาษจากกาบกล้วย
2. ตั้งชื่อเรื่องให้กะทัดรัดได้ใจความสมบูรณ์ สื่อความหมายตรงเข้าใจง่ายรัดกุม เช่น
- การทำชะอมแตกยอดนอกฤดู
- การชะลอการบูดของอาหารด้วยขิง
- การใช้ยาแอสไพรินชะลอการเหี่ยวของดอกกุหลาบ
3. ควรมีการเร้าความสนใจ แต่ต้องไม่ตั้งชื่อให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเกินความเป็นจริง เช่น
- การเปลี่ยนเพศปลาหางนกยูงด้วยไรแดง
- การเสียบยอดมะกอกฝรั่งแคระบนตอปักชำมะกอกบ้าน
- เครื่องพ่นยาอัตโนมัติแบบประหยัด
- การทำให้ชบาออกฝักเป็นกระเจี๊ยบเขียว
- การใช้เมล็ดโฟมป้องกันหนอนผีเสื้อกินใบส้ม
Monday, June 4, 2007
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องและมีการดำเนินงานหลายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนสุดท้าย แบ่งเป็นขั้นตอนใหญ่ ๆ ได้ 6 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 การคิดหรือเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน
ขั้นที่ 2 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ขั้นที่ 3 การเขียนเค้าโครงย่อของโครงงาน
ขั้นที่ 4 การลงมือทำโครงงาน
ขั้นที่ 5 การเขียนรายงาน
ขั้นที่ 6 การแสดงผลงาน
ขั้นที่ 1 การคิดหรือเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน
ขั้นที่ 2 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ขั้นที่ 3 การเขียนเค้าโครงย่อของโครงงาน
ขั้นที่ 4 การลงมือทำโครงงาน
ขั้นที่ 5 การเขียนรายงาน
ขั้นที่ 6 การแสดงผลงาน
Subscribe to:
Posts (Atom)