Tuesday, June 5, 2007

การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ขั้นที่ 2 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องก็เพื่อจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องที่จะทำการศึกษาซึ่งจะช่วยให้โครงงานประสบผลสำเร็จได้มากขึ้น ในขั้นตอนนี้จะรวมไปถึงการขอคำปรึกษา การสอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้อง และยังรวมไปถึงการสำรวจวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำโครงงานด้วย
การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องนี้มีความจำเป็นที่ผู้จัดทำโครงงานต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ห้อง การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจจะต้องขอคำแนะนำเทคนิคและวิธีการต่างๆ ในการค้นคว้าเอกสารจากห้องสมุดจากบรรณารักษ์ห้องสมุดหรือผู้รู้ ตลอดจนการค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
การเขียนเอกสารที่เกี่ยวข้องนี้เป็นการอ้างอิงเนื้อหาต่าง ๆ ที่เราเอามาเขียนในโครงงานที่จำทำเป็นการบอกแหล่งที่มาของข้อมูล ที่เรานำมาเขียนไว้ในโครงงานว่าเรานำข้อความจากหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ใด ตลอดจนจากอินเตอร์เน็ต Web Site ใด โดยจะเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จัดทำโครงงาน เนื้อหาของเอกสารจะเป็นเรื่องที่ตรงกับตัวแปรต้น และตัวแปรตามในเรื่องที่นักเรียนทำ ซึ่งอาจได้มาจากการศึกษาค้นคว้าจากตำรา เอกสาร หนังสือต่าง ๆ จากผู้รู้ ฯลฯ โดยบอกว่าเรื่องที่ทำนี้เป็นเรื่องใหม่ หรือมีผู้อื่นได้ศึกษาไว้บ้างแล้วถ้ามีได้ผลเป็นอย่างไรโดยให้นักเรียนเขียนเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ แต่ถ้าหากเนื้อหาส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวกับการทำโครงงานก็ไม่ต้องนำมาเขียน
เมื่อนำข้อความหรือเนื้อหาในเอกสารใด ๆ มาเขียนให้นักเรียนจัดทำบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิงไว้ด้วย (ศึกษาเอกสารวิธีเขียนเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม ใน หน้า 34 - 37)
เพื่อจะได้นำไปเขียนในส่วนของเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม ในส่วนท้ายของรายงานต่อไป
ตัวอย่าง โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง “สเปรย์...ใบเตย”
การจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้เป็นโครงงานประเภททดลอง
เรื่อง “สเปรย์...ใบเตย” ซึ่งทางคณะผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสาร หนังสือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ต่าง ๆ ดังนี้
ใบเตย (เตยหอม) ลักษณะทั่วไปเป็นพืชที่ขึ้นรวมเป็นกอ ลำต้นกลมต่อ
เป็นข้อ ๆ โคนมีรากงอกเพื่อยึดลำต้น เรียงเป็นวงรอบลำต้น ใบมีสีเขียว เรียวยาว
ปลายใบแหลม ชอบขึ้นในที่มีน้ำชื้นแฉะ ลำต้นมีความสูงประมาณ 2-3 ฟุต
ใบเตย ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา คือ ใบ ใบเตยประกอบไปด้วย น้ำมันหอมระเหย
ประกอบไปด้วยสารหลายชนิด เช่น ไลนา ลิลอะซีเตท (Linalyl acetate) , เบนซิล อะซิเตท
(Benzyl acetate) ,ไลนาโลออท (Linalooi) และเจอรานิออล (Geranilol)
รากของใบเตย ใช้ทำเป็นยาเพื่อขับปัสสาวะและรักษาโรคเบาหวาน
แอลกอฮอล์ (Alcohol) เป็นสารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นของเหลวใส
มีกลิ่นฉุน ระเหยง่าย มีจุดเดือด 78.5 องศาเซลเซียส มีชื่อเต็ม คือ เอทิลแอลกอฮอล์
(Athylacohol) แต่มักเรียกสั้น ๆ ว่า “แอลกอฮอล์”
การผลิตแอลกอฮอล์มีการผลิตมาเป็นเวลาช้านาน ตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษ และ
ผลผลิตของแอลกอฮอล์ก็นำมาใช้เป็นเครื่องดื่ม และในการปรุงอาหาร โดยปกติแอลกอฮอล์
จะเกิดขึ้นจากการหมักผลไม้ ได้แก่ การผลิตไวน์ การหมักสารประเภทแป้งหรือน้ำตาลผสม
ยีสต์ ซึ่งมักเรียกกันว่า แป้งเชื้อ หรือ เชื้อหมัก เป็นองค์ประกอบสำคัญของสุราทุกชนิด
ทั้งนี้ แล้วแต่วัตถุประสงค์ของผู้ผลิตที่จะนำไปใช้ ถือเป็นการนำเอาผลไม้หรือส่วนต่าง ๆ
ของพืชเป็นหลัก อีกทั้งผ่านกระบวนการหมักเพื่อให้ได้แอลกอฮอล์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน
แอลกอฮอล์ที่ผลิตจากพืช เป็นแอลกอฮอล์ที่ใช้ดื่มได้ ส่วนแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากวัตถุดิบ
อื่น ๆ เป็นแอลกอฮอล์ที่ดื่มไม่ได้ นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์โดย
นำมาเป็นตัวทำละลาย ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค และใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เป็นต้น

No comments: