เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์
* สุบิน ณ อัมพรเอกสารนิเทศทางไกล ฉบับที่ 2/2551 นี้ จะเป็นเรื่องเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ เป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง ขอนำเรื่อง กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์มาเล่าสู่กันฟังในฐานะผู้เขียน
เป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ มี 4 ประเภท ได้แก่ 1) ประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล 2)ประเภททดลอง
3) ประเภทสิ่งประดิษฐ์ และ 4) ประเภททฤษฎี
1. ประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล โครงงานประเภทนี้ไม่กำหนดตัวแปร การเก็บรวบรวบข้อมูลอาจ
เป็นการสำรวจในภาคสนามหรือในธรรมชาติหรือนำมาศึกษาในห้องปฏิบัติการ นอกจากนั้นการสำรวจรวบรวมข้อมูล
อาจพัฒนาเป็นการทดลองต่อไปได้ ขอแนะนำช่วงชั้นที่ 1 ควรจะเป็นโครงงานประเภทสำรวจ
เพื่อฝึกนักเรียนให้รู้จักการทำงานที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอน รู้จักการบันทึก
ในสิ่งที่ได้รู้ได้เห็น เมื่อนักเรียนคุ้นเคยแล้วค่อยพัฒนาเป็นโครงงานประเภททดลองต่อไป
ตัวอย่าง “การสำรวจพืชชนิดต่าง ๆ ในบริเวณโรงเรียน” “การสำรวจพืชสมุนไพรในท้องถิ่น”
2. โครงงานประเภททดลอง เป็นโครงงานที่ต้องออกแบบการทดลอง จำเป็นที่จะต้องสอน
ให้เด็กรู้จักตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม ในเรื่องที่ทำการทดลองคืออะไร การตั้งสมมติฐาน
ทดลองเพื่อหาคำตอบ รวบรวมข้อมูลนำมาสรุปเป็นองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ตัวอย่าง “การผลิตเครื่องสำอางจากกล้วย” “การทำยาฆ่าแมลงจากสารที่สกัดจากสะเดา”
3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ โครงงานประเภทนี้เป็นการประดิษฐ์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เครื่องมือ
เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์เพื่อใช้สอยต่างๆ อาจคิดขึ้นมาใหม่หรือปรับปรุงจากของเดิมมีการกำหนดตัวแปร
ที่จะศึกษาและทดสอบประสิทธิภาพของชิ้นงานด้วย
ตัวอย่าง “เครื่องแยกกากผลไม้” “เครื่องดักแมลงวัน”
4 โครงงานประเภททฤษฎี เป็นโครงงานระดับสูง ซึ่งไม่เหมาะสำหรับนักเรียนระดับ
ประถมศึกษา เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร
สมการหรือคำอธิบาย ผู้ทำต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้นๆเป็นอย่างดี ตัวอย่าง “การอธิบายอวกาศแนวใหม่”
ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ 1) การคิดหรือเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน
2) การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3) การเขียนเค้าโครงย่อของโครงงาน 4) การลงมือทำ
5) การเขียนรายงาน 6) การแสดงผลงาน
การเขียนรายงานเป็นรูปแบบหนึ่งของการเสนอผลงานนักเรียนที่ได้ศึกษาค้นคว้าและให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา
การเขียนรายงานที่สมบูรณ์ควรประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้ทำโครงงาน/โรงเรียน/พ.ศ.ที่จัดทำ
3. ชื่อครูที่ปรึกษา
4. บทคัดย่อสั้นๆ (ประกอบด้วย เรื่อง/วัตถุประสงค์/วิธีการศึกษาและสรุปผล)
5. กิตติกรรมประกาศ (แสดงความขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงานที่มีส่วนให้ความช่วยเหลือ
ให้งานสำเร็จ)
6. ที่มาและความสำคัญ
7. วัตถุประสงค์
8. สมมติฐาน (ถ้ามี)
9. ตัวแปร (ถ้ามี)
10. วิธีดำเนินการ
11. สรุปผลการศึกษา
12. เอกสารอ้างอิง
หมายเหตุ โครงงานที่ส่งเข้าประกวดต้องต้องแยกออกเป็นบทๆ ว่าแต่ละบทประกอบด้วย
หัวข้ออะไรบ้างตั้งแต่บทที่ 1-บทที่ 5 (หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้ที่
www.subingreen.blogspot.com ซึ่งผู้เขียนได้จัดทำเป็นเว๊ปไซด์ไว้สำหรับผู้ที่สนใจได้ศึกษา
ประกาศ...สำหรับครูที่สนใจส่งโครงงานวิทยาศาสตร์นักเรียนเข้าประกวดในระดับเขตพื้นที่
การศึกษานครนายก สำหรับช่วงชั้นที่ 2 ช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 แจ้งความประสงค์ได้ที่
ศน.สุบิน ณ อัมพร โทร. 08-9234-9664 และให้ส่งเล่มรายงานในวันที่ 15 สิงหาคม 2551
จะทำการประกวดในปลายเดือนสิงหาคม 2551 ได้แจ้งหนังสือทาง e-filing ทุกโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว
........................................................................
* ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการพิเศษ สพท.นครนายก
เอกสารอ้างอิง
จิราภรณ์ ศิริทวี. (2542, สิงหาคม). “โครงงานทางเลือกใหม่ของการสร้างปัญญาชน,”
วารสารวิชาการ. 2(8) : 33 – 33.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. การสอนคิดด้วยโครงงาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สุบิน ณ อัมพร. (2549). แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์. เอกสารประกอบการ
อบรมเชิงปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 9-10 พฤษภาคม 2549. (อัดสำเนา).